ความสัมพันธ์ทางการตลาดกับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร ของผู้บริโภคในตลาดนัด

Main Article Content

ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล
พิชญ์สินี ตัณทเสน
ธนวัฒน์ ทีปะปาล

Abstract

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภคในตลาดนัด โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าซื้อสินค้าในตลาดนัดในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 486 คน ซึ่งได้มากจากการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงและชายใกล้เคียงกัน (259 ,227 คน) ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 35-39 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  25,000 – 35,000บาท การศึกษาระดับปริญญาตรี  อาชีพรับราชการและพนักงานของรัฐรองลงมาเกษียณอายุอยู่บ้านทำงานบ้านและเลี้ยงหลาน และเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูป 

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลทั่วไปมีความแตกต่างกันกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารในตลาดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

ABSTRACT

 

            This research aims to study the relationship of marketing buying behavior of consumers in food market. The example that is used in the research include customers who buy goods in the market in Phutthamonthon, Nakhon Pathom, of 486 people. Which selected by simple random sampling method. The research instrument was a five-rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage mean standard deviation, t-Test , ANOVA, Chi-Square.

            The results showed that The sample consisted of males and females were similar (259, 227), most between the ages of 35-39 years, the average income per month from 25,000 to 35,000, a bachelor's degree. Career civil servants and state employees into retirement at home doing housework and raising children.  The hypothesis testing found that in general there are different factors marketing mix towards buying behavior in different markets. Significant at 0.05 level. The marketing mix is correlated with the shop. Statistically significant at the 0.05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)