แรงจูงใจของผู้หญิงในการเข้าชมการแข่งขันกีฬา

Main Article Content

ณัฐวุฒิ พลศรี
ศิรชญาน์ การะเวก
ศิริพร สัจจานันท์

Abstract

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาแรงจูงใจของผู้หญิงในการเข้าชมการแข่งขันกีฬา และ 2) เพื่อสร้างสมการทำนายความตั้งใจของผู้หญิงในการเข้าชมการแข่งขันกีฬา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อถือ 0.94 (22 รายการ) ด้วยวิธีการใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ข้อมูลเก็บจากนักศึกษาสาขาการจัดการกีฬา ระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ที่มีประสบการณ์เข้าชมการแข่งขันกีฬา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling ) มหาวิทยาลัย 3 แห่ง จาก 7 แห่ง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และกำหนดโควตากลุ่มตัวอย่าง (Quota sample) มหาวิทยาลัยละ 50 คน  โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (convenience sampling) จำนวน 150 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้อธิบายเป็นสถิติเชิงพรรณนาและตัวแปรหลายตัวที่จะวิเคราะห์แรงจูงใจของผู้หญิงในการเข้าชมการแข่งขันกีฬา จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุด้วยวิธี Stepwise พบว่า 1) แรงจูงใจของผู้หญิงที่มีอิทธิผลต่อการเข้าชมการแข่งขันกีฬาที่ควรให้ความสำคัญในลำดับแรก ได้แก่  สกอร์บอร์ดคุณภาพสูง ผู้เล่นที่มีความสามารถ ทักษะการเล่นดี ผู้เล่นระดับซุปเปอร์สตาร์ หรือทีมชาติ ผู้เล่นที่เล่นตามกฎกติกา มารยาทที่ดี และที่ตั้งสโมสร 2) สมการทำนายความตั้งใจของผู้หญิงในการเข้าชมการแข่งขันกีฬาได้ดังนี้   Y   = 0.786 + 0.212 GA3 (0.002) + 0.261 PE2 (0.000) + 0.142 GA5 (0.043) – 0.158 PE1 (0.011) + 0.139 GA1 (0.022)  สมการสามารถพยากรณ์ความตั้งใจเข้าชมการแข่งขันกีฬาได้ร้อยละ 34.80  

 

ABSTRACT

 

The purpose of this study 1) to identify women’s motivation for attends sporting events and 2) to creates an equation to predict women’s intention to attend sporting events. The research instruments were a questionnaire with the reliability of 0.940 (22 item) by Cronbach’s alpha method. Data collected from women students in sports management, undergraduate, Bangkok Metropolitan Region with experience to attend a sporting event. By purposive sampling three of the seven universities, including Kasetsart University, Mahidol University and Bangkokthonburi University. Quota sample of 50 people by convenience sampling 150 people. This research is a quantitative research. Using descriptive and multivariate statistics to distinguish the attendance motivations of women. The multiple linear regression analysis revealed that 1) women’s motivation for attends sporting events should be  priority in high quality of scoreboard, select players from good skill, fair play and superstar, and the convenience of travel to the stadium.2) The equation for predicting intentions to attend sporting events as follows

Y   = 0.786 + 0.212 GA3 (0.002) + 0.261 PE2 (0.000) + 0.142 GA5 (0.043) – 0.158 PE1 (0.011) + 0.139 GA1 (0.022).  The equation can forecasting intention to attend sporting events at 34.80 percent.

Article Details

Section
บทความวิจัย (research article)