การศึกษาเพลงพื้นบ้านสะล้อล้านนาสู่การสร้างสรรค์บทเพลง violin ensemble
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาเพลงพื้นบ้านสะล้อล้านนาสู่การสร้างสรรค์บทเพลง violin ensemble เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทางมานุษยดุริยางควิทยา เก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ชำนาญการบรรเลงสะล้อล้านนา ในจังหวัดเชียงราย และน่าน จุดมุ่งหมายเพื่อทราบคุณลักษณะทางดนตรี เทคนิคการบรรเลง และนำมาเปรียบเทียบกับเทคนิคการบรรเลงไวโอลิน เพื่อการสร้างสรรค์สู่บทเพลงสำหรับการบรรเลงไวโอลิน ผลการศึกษาพบว่า ในบทเพลงสะล้อล้านนามีการใช้บันไดเสียงแบบ 5 เสียง (Pentatonic Scale)และบันไดเสียงแบบ 6 เสียง (Hexatonic Scale) มีรูปลักษณ์ของทำนอง 3 รูปแบบ คือ แบบ Conjunctive, Disjunctive และ Undulating สามารถเปรียบเทียบเทคนิคสะล้อกับไวโอลินได้ 9 เทคนิค ส่วนการสร้างสรรค์เกิดการประพันธ์บทเพลง Lanna fiddle’s dance for violin ensemble ขึ้นโดยมีการนำบทเพลงสะล้อพื้นบ้านที่ได้จากการศึกษามาใช้
Article Details
References
Buranapan Jailha.(2002).Saw-long-nan:Kampai Nuping.Thesis (Music),Mahidol University.
Galamian, I. (1985). Principles of Violin Playing and Teaching. Michigan: Shar Product Company.
Kovit Kantasiri. (2017). Contemporary music. Handout for Faculty of music, Bangkokthonburi University.
Natcha Pancharoen. (2011). Dictionary of Music.Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Natcha Pancharoen. (2007). Music Theory.Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Panya Roongruang. (2014). Thai Music History. Nonthaburi: Arsomsangkheet publisher.
Stowell, R. (1992).The Cambridge Companian to the Violin. Great Britain: Cambridge University Press