การศึกษาเชิงประจักษ์ด้านทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลที่ส่งผลต่อการวางแนวทางและประโยชน์การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลที่เหมาะสมของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่ส่งผลต่อทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัล และ เพื่อศึกษาแนวทางและประโยชน์การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลที่เหมาะสมของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุ 18 ปีขึ้นไป 400 คน และสัมภาษณ์ 10 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t –test และ One – way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ส่งผลต่อทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปัจจัย อายุ และจังหวัด 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกันส่งผลต่อทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางและประโยชน์ พบว่าควรเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันและการทำงานผ่านการฝึกอบรมออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ใหม่ในทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งมีประโยชน์ให้ประชาชนในการเพิ่มโอกาสในการหางานและสร้างรายได้เสริม ในทุกพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรณทิมา อิสระโชติ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนธรรมโฆสิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จุฑามาศ ฉัตรสุริยาวงศ์. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์กับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชบา โพธิ์มณี. (2563). การศึกษาเชิงประจักษ์ด้านทักษะการรู้เท่าทันนวัตกรรมดิจิทัลของข้าราชการทหารอากาศ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชัชชญา เรืองยศ. (2563). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฏฐ์ ฐนันท์รมย์. (2562). การเปิดรับ การรู้เท่าทัน และผลกระทบจากการใช้สื่อออนไลน์ของเยาวชนจังหวัดปัตตานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
ทวีสิน อำนวยพันธ์วิไล. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนระบบคลาวด์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังร่วมกับการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนาพันธ์ ชัยเทพ. (2563). การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นภาวัลย์ ภัทราธิกุล. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลแบบบูรณาการ อิสลามเพื่อป้องกันการรังแกในโลกไซเบอร์สำหรับครูมัธยมศึกษาในจังหวัดปัตตานี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไพโรจน์ ทิพมาตร์. (2562). ปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบ้านพักคนชราของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ภาษิตา ชัยศิลปิน. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริกานต์ เทพสอน. (2564). การสร้างแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper &row.