กระบวนการตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์
สร้อยบุปผา สาตร์มูล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจรับงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สอบบัญชี จำนวน 12 คน การนำเสนอเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. การตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชีแต่ละประเภท เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชีแต่ละประเภทมีมุมมองที่แตกต่างกัน โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้ ผู้สอบบัญชีที่รับงานจากสำนักงานบัญชี ผู้สอบบัญชีที่รับจากสำนักงานสอบบัญชี และผู้สอบบัญชีอิสระ 2. ด้านกระบวนการตัดสินใจ พบว่า ผู้สอบบัญชีทั้ง 3 ประเภท มีความโปร่งใสในการทำงาน มีความเป็นอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการทำงานและสามารถปฏิบัติงานภายใต้กรอบวิชาชีพได้โดยอิสระไม่อยู่ภายใต้การบังคับ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ ขั้นตอนความหวังต่อการรับงานสอบบัญชีในครั้งต่อไป หากผู้สอบบัญชีประทับใจการรับงานนั้นต้องมีความถูกต้องและปราศจากความเสี่ยงตามมุมมองที่ผู้สอบบัญชีประเมินว่าคุ้มค่ากับราคาค่าสอบบัญชีที่ยอมรับได้ และ 3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจรับงานของผู้สอบบัญชี พบว่า ผู้สอบบัญชีทั้ง 3 ประเภท พิจารณาความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจรับงานสอบบัญชีเพื่อลดตรวจสอบจากสภาวิชาชีพและปริมาณงาน ซึ่งมีปัจจัยที่แตกต่างกันดังนี้ 1) ผู้สอบบัญชีที่รับงานสำนักงานบัญชี ปัจจัยลักษณะสำนักงานบัญชี 2) ผู้สอบบัญชีที่รับงานสำนักงานสอบบัญชี ปัจจัยลักษณะทีมงาน และ3) ผู้สอบบัญชีอิสระ ปัจจัยลักษณะธุรกิจ ซึ่งผู้สอบบัญชี 3 ประเภทสอดคล้องกับทฤษฎีการตัดสินใจเลือกเชิงอธิบายและเชิงระบบต่อการเลือกอย่างมีเหตุมีผลในการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งทำให้ปัจจัยสำคัญดังกล่าวมีผลต่อการตัดสินใจรับงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย และนำไปสู่การพิจารณาปัจจัยกำหนดราคาและความเต็มใจรับค่าสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในลำดับต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)
Author Biography

ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์, 0655099044

ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์ 

วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

e-mail : aj.theewara@gmail.com 

References

Asare, S. (1994). Client Acceptance and Continuation Decisions. (Doctoral Dissertations). Proceedings of the 1994 Deloitte & Touche University of Kansas Symposium on Auditing Problems, edited by R. P. Srivastava. 163-178. Lawrence. KS: University of Kansas.
Chanchai Tangruenrat (2008). Audit risk. Journal of Accounting Profession. Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University.
Goodwin,P. and Wright, G. (1998). Decision Analysis for Management Judgement. Chichester, England: John Wiley & Sons Ltd.
Hastie, R. and Dawes, R. (2001). Rational choice in an uncertain world: The psychology of Judgement and decision making. Thousand Oaks, CA:Sage Publications.
Huss, H. and Jacobs, F. (1991). Risk containment: Exploring auditor decisions in the engagement process. Auditing: A Journal of Practice & Theory Fall: 16-32.
Jean, C. (2004). Earnings Manipulation Risk, Corporate Governance Risk, and Auditors' Planning and Pricing Decisions. The Accounting Review Vol. 79, No. 2 pp. 277-304
Johnstone, B. (1997). Risk, Strategy, and the Client Acceptance Decision: A Causal Model. (Doctoral Dissertations). The University of Connecticut. (AAI9737412)
Kamyarat Rodruang, Piyawan Junrat and Chatmongkon Wongrathanandha (2016). Factors Influencing Auditors’s Descison on Client Acceptance. Department of ACCOUNTING in Kasetsart University
Nipan Henchokchaichana and Sillapaporn Srijunpetch. (2016). Auditing. 1st edition. Bangkok: T.P. N. Place Limited Partnership
Volker, L. and Paul, N. (2010). Auditor Liability and Client Acceptance Decisions. The Accounting Review:January 2010, Vol. 85, No. 1, pp. 261-285.
Wirode Laohathaweechoke (2004). Factors Impact on Auditor's Client Acceptance Decisions and Client's Determining Audit Firm. Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School.