การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการประเมินศักยภาพด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ ในอำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยทำการสอบถามข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มได้แก่ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการในชุมชน และผู้นำชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 30-35 ปี เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลับมาท่องเที่ยวซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
ใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยว 1 วัน โดยวัตถุประสงค์หลักในการมาท่องเที่ยวคือมาทำบุญไหว้พระ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอันจะนำมาสู่การท่องเที่ยวซ้ำ พบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอในการจัดการองค์ประกอบด้านโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนและผู้นำในชุมชนในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับดีต่อองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยว โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.30 โดยมีข้อเสนอแนะในได้แก่ ควรมีเครื่องมือในการสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาในแหล่งท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้นโดยอำนวยความสะดวก ปลอดภัยและควรมีการรวมกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมความรู้ด้านโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง เพื่อบริหารจัดการองค์ประกอบด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้มีความยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
Aeknaree Toomphol.(2016). AStudying Improvement of Transportation and Warehouseof
Steel Distributer Industry. Journal of Business Administration ISSN:2287-0717 Vol.5 No.2
July- December 2016
Saowanee Samantreeporn.(2015).Thai Spa Development toward Sustainability Service Psychology
Method. Academic Journal of Bangkokthonburi University. Vol. 4 No. 1: May – June. 2015
-184.
Font,X.,Tapper, R., Schwartz, K., & Kornilaki, M. (2008). Sustainable supply chain management
in tourism. Business strategy and the environment, 17(4), 260-271.
Kannika. (2019). The Development of Tourism Geographic Information System in Respond to
Demand Behavior of Thai tourists : The case Study of Chachoengsao Province.
Journal of Rajanagarindra University. Vol 15, No 34 .
Lemmetyinen, A. (2010). The role of the DMO in creating value in EU-funded
tourism projects. Scandinavian journal of hospitality and tourism, 10(2), 129-152.
Phromkaewtor, S. (2010). An Assessment of Water-based Community Tourism Development:
A Case Study of Taling Chan Floating Market (Doctoral dissertation, Mahidol University).
Piboonrungroj, P., & Disney, S. M. (2012). Supply chain collaboration, inter-firm trust and logistics
performance: Evidence from the tourism sector. Available at SSRN 2050703.
Spasić, V. (2012). Integrating sustainable tourism in tour operators’ supply chain. Singidunum
Journal of Applied Sciences, 9(1), 60-66.
Véronneau, S., & Roy, J. (2009). Global service supply chains: An empirical study of current
practices and challenges of a cruise line corporation. Tourism Management, 30(1),
-139.