การศึกษาและออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ชุติมา งามพิพัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อการออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)  1) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและผู้ปกครอง จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของสื่อการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.70, S.D. = 0.47) / กลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัย จำนวน 10 คน  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาทางด้านร่างกาย  อยู่ในระดับที่มากที่สุด    (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.57, S.D. = 0.57)  2) การออกแบบสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 รูปแบบ  นำมาออกแบบ Sketch design  เพื่อนำไปประเมินหาค่าความเหมาะสมของรูปแบบสื่อการเรียนรู้  กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 6 คน  ผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบที่ 1 ด้านขนาดและสัดส่วน อยู่ในระดับที่มากที่สุด  (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.55, S.D. = 0.50)  มีความเหมาะสมนำไปผลิตต้นแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ  3) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สอนเด็กปฐมวัยและผู้ปกครอง จำนวน 40 คน ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00  มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 32.50  มีสถานภาพสมรส จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00  มีรายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท จำนวน 15 คน  คิดเป็นร้อยละ 37.50 และเป็นผู้ปกครอง จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 27.50  ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สามารถดึงดูดความสนใจให้เด็กมาเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก  (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.35, S.D. = 0.66)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

Cole, J. (2011). A research review : The importance of families and the home environment. London : National Literacy Trust.

Jirapan Poolpat. (2015). Teaching young children to understand ASEAN. Online. Retrieved on 25 December 2018. www.pecerathailand.org

Ministry of Education. (2005). Management of student-focused teaching and learning. (Self-learning kit, set 8, One district project One school of dreams). Bangkok: Ministry of Education.

Panarada Apirattanawong. (2011). Creating 2-dimensional cartoon animation media about dental health for preschool children. Master of Science Mahasarakrm university.

Phakatayatham. (1997). Child mental health. Bangkok:ChulalongkornUniversity Press.

Songwut Ekawutwongsa. (2014). Principles of analytical thinking for basic product design, product thinking. Bangkok: Min Servis Supply Ltd., Part.

Suranat Chomju. 2014. Design and development of toys to promote art learning about color lines, shapes, shapes for children with autism. Age 3-5 years. Thesis. Srinakharinwirot University.

Valchuri Naksanit. 2014. Study and design of educational toys Thai consonant set for preschool children. Thesis B.E.: King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang.