อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจ และพฤติกรรม การใช้บริการของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจ และพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ จำนวน 580 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับคุณภาพการบริการ ความคิดเห็นในการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นส่วนใหญ่เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
โมเดลคุณภาพการให้บริการมีผลต่อการตัดสินใจ และพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยมีค่าสถิติ c2= 69.871, c2/df = 1.248, df = 56, p-value = 0.101, RMSEA = 0.021, RMR = 0.013, GFI = 0.982, AGFI = 0.971, CFI = 0.995 โดยตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ได้ร้อยละ 29.30 ผลการวิจัยยังพบว่า คุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้บริการ (β = 0.492) และคุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจใช้บริการ (β = 0.605)
Article Details
References
กระทรวงคมนาคม. (2559). แผนงานในภารกิจหลักของกระทรวงคมนาคมภายใต้ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2562 จาก http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PolicyPlan/1-PolicyPlan/25600316-OpertionPlan/25600316-OpertionPlan3.pdf
คมสัน โสมณวัตร. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2024-2038.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิธีการวิจัยทางการศึกษา Research methods in education. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิวิมล ว่องวิไล, คมสัน โสมณวัตร และฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ. (2562). การศึกษาความต้องการใช้บริการขนส่งรถโดยสารสาธารณะของประชาชนในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 111-119.
สยามธุรกิจ. (2562). ระบบขนส่งสาธารณะไทย ความปลอดภัยอยู่ตรงไหน?. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562 จาก https://www.siamturakij.com/news/22668
สุมาลี รามนัฏ และสุภัตรา วันต๊ะ. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการส านักงานบัญชีของบริษัทจำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาครโดยใช้สมการเชิงโครงสร้าง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมายม, 11(1), 103-122.
สุริ คงกะพันธ์ และคณะ. 2558. “รถสาธารณะ” ทางเลือกของผู้ใช้บริการ ตอบโจทย์ความต้องการแล้วหรือยัง?. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2562 จาก https://theprototype.pim.ac.th/2015/11/27/thepublictransportsystem
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมการศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักบริหารการทะเบียน. (2562). จำนวนประชากร พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562 จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/xstat/new/POPHSE/stat_t61.txt
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J,, & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Prentice Hall.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (ed. D A Kenny and T D Little) New York, London: Guilford.
Rust, R T., & Zahorik, A. J. (1993). Customer satisfaction, customer Retention, and Market Share. Journal of retailing, 69(2), 193-215.