กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสืบทอดกิจการโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methodology) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแสวงหากลยุทธ์ที่เหมาะสม และทดสอบความเป็นไปได้ในแผนกลยุทธ์ไปใช้ในการสืบทอดกิจการของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกใช้วิธีวิจัยในเชิงคุณภาพเพื่อกำหนดกรอบตัวแปรกลยุทธ์ในการสืบทอดกิจการโรงเรียน จากการวิจัยเอกสาร และการใช้เทคนิคเดลฟายในการหาฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน ใช้แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ส่วนการวิจัยในระยะที่สอง เป็นการประเมินความเหมาะสมในการนำกลยุทธ์ที่ได้ไปใช้ในการสืบทอดกิจการโรงเรียนเอกชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กระจายอยู่ตามภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศ จำนวน 360 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้นภูมิตามสัดส่วน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า:
1. กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการสืบทอดกิจการโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย มีทั้งหมด 7 ด้านหลัก คือด้าน (1) การสร้างแผนการสืบทอด (2) การสื่อสารเพื่อสร้างผู้สืบทอด (3) การส่งเสริมการปกครองในครอบครัว (4) การจัดวางตัวทายาทผู้สืบทอด (5) การพัฒนาความพร้อมของทายาทผู้สืบทอด (6) การปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สืบทอดและเจ้าของ และ (7) การส่งต่ออำนาจและมอบทรัพย์สินแก่ผู้สืบทอด
2. กลยุทธ์ทั้ง 7 ด้านมีความเหมาะสมในระดับมากสำหรับนำไปใช้ในการสืบทอดกิจการของโรงเรียนเอกชนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวม และรายด้าน
Article Details
References
กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์. (2554). วางแผนสืบทอดธุรกิจ ครอบครัวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย.
คณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (2560). แนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. สไลด์ประกอบการประชุมสัมมนาขับเคลื่อนการศึกษาเอกชนตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2555). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: การใช้มติสอดคล้องโดยเสียงข้างมาก. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 7(18), 1-13.
ดนัย เทียนพุฒ. (2558). ก้าวย่างสานต่อธุรกิจครอบครัว. กรุงเทพฯ: โครงการ Human Capital.
ธีระ กนกกาญจนรัตน์. (2557). สืบทอดธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558 จาก ไทยรัฐออนไลน์: http://www.thairath. co.th/ content/443190
รวิดา วิริยกิจจา. (2559). การจัดการกลยุทธ์ธุรกิจครอบครัว. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการจัดการธุรกิจครอบครัวเพื่อความยั่งยืนสำหรับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยการเรียนรู้.
สิริรัฐ บุญรักษา. (2559). ธรรมนูญครอบครัว ปฐมบทแห่งความยั่งยืน. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการจัดการธุรกิจครอบครัวเพื่อความยั่งยืนสำหรับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยการเรียนรู้.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2552). การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2560 จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/ unit_files/files_data/2013-07-24strategic-plan-technic-2552.pdf
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2559). รายชื่อโรงเรียนเอกชน. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559 จาก https://sites.google. com/a/opec.go.th/ opec/list-name-school
หนังสือพิมพ์มติชน. (2558, 2 มกราคม). โรงเรียนเอกชนวิกฤต! ปิดแล้ว 400 ขาดครู-ค่าใช้จ่ายสูง-รัฐเมิน.สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2558 จาก มติชนออนไลน์: http://www.matichon.co.th/ news_detail. php?newsid=1420172401
อุทัย ดุลยเกษม. (2547). ปรารมภ์เรื่องความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. สานปฏิรูป, 6(69), 62-63.
เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2557 ก). การวางแผนสืบทอดธุรกิจรุ่นต่อรุ่น. นิตยสารเศรษฐกิจและธุรกิจรายเดือน Thailand Economic and Business Review, 10(11), 53-57.
Aronoff, C. E. & Ward, J. L. (1992). Family Business Succession: The Final Test of Greatness. Marietta, GA: Family Enterprise Publishers.
Churchill, N.C., & Hatten, K.J. (1987). Non-market -based transfers of wealth and power: a research framework for family businesses. American Journal of Small Business, 11(3), 51-64.
Floren, R. H. (2002). Crown prince in the clay: An empirical study on the tackling of succession challenges in Dutch family farms. Assen, The Netherlands: Royal Van Gorcum.
Handler, W. C. (1994). Succession in Family Business: A Review of the Research. Family Business Review, 7(2), 133-157.
Kenyon-Rouvinez, D. & Gabs. (2007). Who, Me? Family Business Succession. A Practical Guide for the Next Generation. Georgia: Family Enterprise Publishers.
Lea, J. W. (1991). Keeping It in the Family: Sucessful Succession of the Family Business. New York: Wiley & Sons.
Poza, E. J. (2010). Family Business. (3rd ed.). Mason: South-Western.
PricewaterhouseCoopers. (2014). Bridging the gap: Handing over the family business to the next generation. Retrieved September 7, 2015, from pwc: http://www.pwc.com/gx/en/pwc-family-business-survey/next-gen/assets/nextgen-survey.pdf
Venter, E., Boshoff, C., & Mass, G. (2005). The influence of succession process in small and medium-sized family businesses Family Business Review, 18(4), 283-303.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.