กลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกและผลการดำเนินงานธุรกิจด้านการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) เพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกและผลการดำเนินงานธุรกิจด้านการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) เพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพและปริมณฑลโดยทำการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าโครงการ หรือพนักงานที่มีความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกและการดำเนินงานของกิจกรรมด้านการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออก ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และผลการดำเนินงานธุรกิจด้านการส่งออกอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกด้านการสื่อสารทางการตลาด ด้านการจัดส่ง ด้านการจัดการสินค้า/การบริการ ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการจัดการช่องทางการกระจายสินค้า/การบริการมีผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันการส่งออก ในขณะที่ด้านการปรับตัวทางด้านการตลาด ด้านการจัดการสินค้า/การบริการ ด้านการสื่อสารทางการตลาด ด้านการบริการหลังการขาย และด้านการจัดส่งมีผลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจด้านการส่งออก สุดท้ายความได้เปรียบเชิงการแข่งขันการส่งออกด้านราคาและด้านคุณภาพมีผลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจด้านการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพและปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลของการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกสามารถนำเอากลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อการส่งออกและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้
Article Details
References
จักกเรศ นฤดลประวัติ และ กฤช จรินโท. (2555). แนวทางกลยุทธ์ในการลงทุนธุรกิจของยาและเวชภัณฑ์ไทย ใน สปป.ลาว (กลาง). วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, 5(2), 103-118.
จิตรลดา ตรีสาคร และสุรพร อ่อนพุทธา. (2561). การศึกษากลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ฉบับพิเศษ ตุลาคม, 200-215
จันทร์ฉาย พิทักษ์อรรณพ. (2558). ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการต่อการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 22(1), 114-140.
ชัญญา ดำบุญ และ ปริญ ลักษิตามาศ. (2557). รูปแบบกลยุทธ์การเน้นการตลาดเพื่อการส่งออกอาหารแช่แข็ง. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 91-106.
ชินสัคค สุวรรณ อัจฉริย เจษฎา ธรรมบัญชา และ เสาวลักษณ์ รัตนบุรี. (2552). การวิเคราะห์เปรียบเทียบของการเลือกเส้นทางขนส่งเพื่อการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและไม้ยางพาราแปรรูป. วารสารวิทยาการจัดการ, 26(1), 1-13.
โชติมา โชติกเสถียร. (2562). การพัฒนาศักยภาพการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยสู่กลุ่มประเทศเอเชียใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 59-72.
ฐิติมา ผการัตน์สกุล และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์ในการดาเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(3), 538-552.
ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และ ธีระ เตชะมณีสถิตย์. (2557). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้า ระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศ ในระบบขายตรง. Suranaree Journal of Social Science, 8(2), 41-59.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ ฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.
นัจรีภรณ์ สิมมารุณ. (2561). ภาวะ Multicollinearity กับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16, 23-29.
ปัทมา โกเมนท์จำรัส. (2556). ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 5(10), 64-79.
เผด็จ ทุกข์สูญ, ณัฐริดา มงคลคีรี และ เมธิณี อิ่มเอิบ. (2559). ผลกระทบของความสามารถทางการตลาดและเครือข่ายทางธุรกิจ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการส่งออกของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 439-455.
พัณณินอร ศิริสุวัฒน์ และ ธีรศักดิ์ จินดาบถ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกยางพาราไทย เพื่อการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ. วารสารนักบริหาร, 33(2), 40-48.
ภัทรพล ซุ่มมี. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจส่งออกของผู้ประกอบการอาหารทะเล กระป๋องในประเทศไทย. วารสารดุษฏีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 3(3), 98-110.
ภูวนารถ ถาวรศิริ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของผู้ประกอบการธุรกิจน้ำดื่มท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี, Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 2171-2187.
วิยะดา ชัยเวช, วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม และ ปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2559). การพฒันากรอบแนวคิดกลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันการส่งออกลำไยสดของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 1-10.
สมพิทย์ สุวรรณโณ และ ธราธร กูลภัทรนิรันดร์. (2554). การศึกษาโซ่อุปทานของสินค้าประเภทเครื่องสำอาง เพื่อการส่งออกไปประเทศเวียดนาม. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 8(2), 38-46.
สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย. (2562). ศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยพิจารณา ด้านการลงทุนภาคเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 209-219.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม. (2557). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม ปี 2557: แนวทางการส่งเสริมกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่มีการเติบโตสูงของประเทศไทย (SMEs High Growth Sectors). เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 จาก https://www.sme.go.th/
Cochran, W., G. (1977). Sampling Techniques: 3d Ed. New York: Wiley. (1977).
Hajiar, S. T. (2014). A statistical study to develop a reliable scale to evaluate instructors within higher institution. WSEAS Transactions on Mathematics, 13, 885-894
Kotler P., & Keller, K. L. (2009). Marketing Management, 13th Edition. Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.
Neter, J., Wasserman, W. & Kutner, M. H. (1989). Applied Linear Regression Models. Homewood, IL: Irwin.
O’brien, R. M. (2007). A caution regarding rules of thumb for variance inflation factors. Quality & quantity, 41(5), 673-690.