การยอมรับและใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล : มุมมองของผู้ขับแท็กซี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ของผู้ขับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาการยอมรับและใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ของผู้ขับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสร้างแบบจำลองการยอมรับและใช้ตามทฤษฎีรวมของการยอมรับและใช้เทคโนโลยี ที่ประกอบไปด้วย 4 ตัวแปรต้น ได้แก่ ความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม อิทธิพลของสังคม สภาพสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณ์ ประสบการณ์การใช้ และ 1 ตัวแปรส่งผ่าน คือ พฤติกรรมความตั้งใจ และ 1 ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการใช้ จากการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด เมื่อนำมาวิเคราะห์ผล พบว่า ค่าเฉลี่ยแต่ละตัวแปรของแบบจำลองมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวแปร การวิเคราะห์องค์ประกอบแบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ของผู้ขับแท็กซี่ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปร 2 ตัวแปร คือ สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน และ พฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ โดยพฤติกรรมความตั้งใจใช้ ได้รับอิทธิพลทางตรงมากที่สุดจากอิทธิพลทางสังคม ผลจากงานวิจัยสามาถใช้เป็นแนวทางในการการพัฒนาปรับปรุงแอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ต่อไป
Article Details
References
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
โชติมา ชูกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกรถยนต์โดยสารของ
ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พลฏฐ์ อินถารต และชุติมา เบี้ยวไข่มุก. (2560). ปัจจัยต่อการยอมรับและใช้ E-Wallet. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
พงศกร ง่วนสำอางค์. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการใช้แอปพลิเคชั่นแท็กซี่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิมพ์พรรณ สุวรรณศิริศิลป์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและใช้งานบริการแบบพร้อมเพย์.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.
ภัทราวดี วงศ์สุเมธ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและการใช้งานระบบการเรียนผ่านเว็บ. วารสารนักบริหาร, 33(3), 3-10.
สิทธิชัย ภูษาแก้ว. (2560). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Grab ของ ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อุทัยวรรณ ของสิริวัฒนกุล. (2562). ทางรอดแท็กซี่ไทย....ในยุค 4.0. ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563 จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/6625/
เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล, (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ:ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อัจฉราวรรณ งามญาณ, (2554). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(131). 46-60
Lin, C.P.and Anol, B. (2008). Learning online social support: An investigation of network information technology based on UTAUT. Cyber Psychology & Behavior, 11(3), 268-272.
Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425–478.