Working lives Quality of Private University Personnel in Bangkok Area

Main Article Content

ฐิตาภา เบ็ญจาธิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า


1. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวม และรายด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ รองลงมาคือ ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตด้านอื่น


2. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จริยา เดชกุญชร. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานของอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตส่วนกลาง. กรุงเทพฯ. ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัญฑิตภาควิชาเอกการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชมพูนุท ศรีพงษ์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานภาคธุรกิจเอกชนในจังหวัดยะลา. ภาควิชาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ชาญชัย อาจินสมาจาร.(2555). พฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออพเซท.

ชาติวัฒน์ ศรีแก้ว.(2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์.

เชาว์ อินใย.(2543). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. เลย: รุ่งแสงธุรกิจการพิมพ์.

ชุมพร ฉ่ำแสง และคณะ (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจังหวัดนครนายก. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,

ทวีศรี กรีทอง.(2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจัดสรรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค สังกัดสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเจือ วงศ์เกษม. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการเพิ่มผลผลิต (Quality of work life And productivity). วารสารเพิ่มผลผลิต, 26(ธันวาคม – มกราคม), 29-33.

บุญเลิศ ไพรินทร์. (2548). การพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์. กรุงเทพฯ: สมาธรรม

บุญแสง ธีระภากร. (2533). การปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน. จุลสารพัฒนาข้าราชการพลเรือน, 25 (1), 5–12.

ประยูร อาษานาม. (2543). คู่มือวิจัยทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุทิน สายสงวน.(2560). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการศึกษากรณีข้าราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรที่ประจำสำนักงานเกษตรอำเภอภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

เสาวนีย์ ตนะตุลย์.(2561). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารี เพชรผุด.(2559). มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์.