การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด (MOOC) ที่มีประสิทธิภาพ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในสังคมยุคฐานความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นสังคมที่ใช้ความรู้หรือเทคโนโลยีระดับสูง การเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด (MOOC) เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จำนวนมาก ๆ ผ่านทางเว็บไซต์มีทั้งเรียนฟรีและเสียค่าใช้จ่ายถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการการศึกษาของโลก การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย 2) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของอาจารย์ผู้สอนออนไลน์ระบบเปิดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยพบว่ามีความจำเป็นต้องพัฒนาอาจารย์ผู้สอนมืออาชีพระดับอุดมศึกษาเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดให้มีประสิทธิภาพด้วยปัจจัยสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหา รูปแบบของสื่อการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลและการประกันคุณภาพ 3) ด้านการพัฒนา ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผู้เรียนจำนวนมากต้องอาศัยการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนา 4) ด้านการประยุกต์รายวิชา MOOC มาใช้ให้เหมาะสมในบริบทของการศึกษาไทย 5) ด้านการประเมินเพื่อเป็นมาตรฐานที่กำหนดร่วมกันของสถาบันต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของอาจารย์ผู้สอนออนไลน์ระบบเปิดของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย พบว่า อาจารย์มีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการสอน ด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ความต้องการพัฒนาตนเองด้านการออกแบบการสอน 2) ด้านการออกแบบหลักสูตรและพัฒนาการสอนออนไลน์ระบบเปิดที่มีประสิทธิภาพและเชี่ยวชาญ 3) การพัฒนาด้านทักษะเทคนิควิธีการสอนด้วยการได้รับการฝึกอมรมภายในสถาบันและความมร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพจากภายนอกสถาบัน 4) ด้านการพัฒนาตนเองในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะศาสตร์และความสอดคล้องของเนื้อหาสาระ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). MOOCs PEDAGOGY: จาก OCW, OER สู่ MOO เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง ปี พ.ศ. 2556. 276-285.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Designวิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2563). Chula MOOC. กรุงเทพฯ., สืบค้นจาก https://mooc.chula.ac.th/
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา และคณะ (2561).แนวทางการพัฒนาอาจารย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชน.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เดชา เดชะวัฒน์ไพศาล (2563).การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่.CHULA MOOC, กรุงเทพฯ, สืบค้นจาก mycourseeville.com.
ณฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1463-1497.
ธานินทร์ อินทรวิเศษ และคณะ (2562). เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล.Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6),1906-3431.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2554). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, พิมพ์ที่โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. (2563). ความเป็นมา Thai MOOC. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563 จาก http://mooc. thaicyberu. go.th/about-us/#.X6Vdg2gzbIU.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิกจำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาอาจารย์เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชน.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563 จาก http://support.thaicyberu.go.th/research/teacherWithMOOC.pdf.
Anthony G. (2016). Online education policy and practice: the past, present, and future of the digital university Picciano, New York. Retrieved from https://www.researchgate .net/publication/314197512.
Ahmed, O. J. (2019). Online Course (MOOCs) to Revolutionize Technology in Education: A Case of Pakistan. Journal of Education and Educational Development. 6(2).
Baran, E., & Correia, A.-P. (2014). A Professional Development Framework for Online Teaching. Tech Trends, 58(5), 96-102.
Chen Chen. et al. (2020). Going over the cliff: MOOC dropout behavior at chapter transition. Journal Distance Education, 41(1), 6-25., Retrieved from https://www. tandfonline.com/doi/abs/10.1080/ 0158 7919. 2020.1724770.
Ke Zhang. et al. (2019). MOOCs and open education in the Global South: Challenges, successes, and opportunities., New York, Routledge, 2019, 392 pp., Retrieved from https://doi.org/10.4324/ 9780429398919.
Min Young Doo, et. al. (2020). MOOC instructor motivation and career development. Journal Distance Education, 41(1), 26-47., Retrieved from https://www.tandfonline. com/doi/abs/10.1080/01587919. 2020.1724770.
Shannon Skecher, et al. (2020). Connecting online students to their higher learning institution, Distance Education, 41(1), 128-147, Retrieved from https://www.tandfonline.com/ doi/full/10.1080/01587919.2020.1724771.