ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูลทั่วไป ระดับปัจจัย อิทธิพลทางตรงและทางอ้อม และแนวทางการบริหารโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์โมเดลการวัดและโมเดลเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ คือ โลจิสติกส์ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้ผู้บริโภค ปัจจัยด้านทัศนคติด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คือ ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการรับรู้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คือ รู้สึกกังวลกับสถานการณ์ที่ไม่ดีทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า c2/df = 0.52, SRMR = 0.05, CFI = 0.92, NFI = 0.91, TLI = 0.96, GFI = 0.92, RMSEA = 0.04 มีค่าสัมประสิทธิ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ การบริหาร โลจิสติกส์ที่ดีควรเป็นการบริหารบนแนวทางการดำเนินการที่ใช้ได้จริงและมีความทันสมัย หมุนเวียนใช้ทรัพยากรด้านโลจิสติกส์ให้คุ้มค่า ลดการสูญเสียให้มาก มุ่งเน้นการพัฒนาทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างเป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยง ใช้งานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์และเกิดความยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงพาณิชย์. (2562). ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2562. กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.
กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
กฤติยา เกิดผล และ ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร. (2560). การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์โซ่อุปทานการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2561). FAQ ISSUE 134 ตีแผ่โครงสร้างระบบโลจิสติกส์ไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย. สืบค้น 30 มกราคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/Monetary Policy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_134.pdf
เตชะ บุญชัย. (2553). สาระน่ารู้เกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์ สำหรับภาคธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม. Logistics 2 Days. สืบค้น 30 มกราคม 2563, จาก http://www.logistics2day.com/app_website/community//blog. aspx?id=705
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2563). เผยทัศนคติ-พฤติกรรมคนไทยต่อสิ่งแวดล้อม ‘ปัญหาขยะพลาสติก’ครองแชมป์!. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000004144
วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และวริยา ปานปรุง. (2559). แรงขับเคลื่อนในการประยุกต์ใช้การจัดการโลจิสติกส์สีเขียวสำหรับผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(2), 225-239.
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2557). ธุรกิจสีเขียว. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.tei.or.th/publications/2014-download/2014-TBCSD-Greenbusiness-y8-2.pdf
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2562). สผ. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำเสนอร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ชี้มี 4 ประเด็นต้องเร่งแก้ไขโดยด่วน. สืบค้น 30 มกราคม 2563, จากhttp://www.tei.or.th/th/highlight_detail.php?event_id=410.
สิรางค์ กลั่นคำสอน ธีรนันทา ฤทธิ์มณี วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ เจริญชัย โขมพัตราภรณ์ และยอดมนี เทพานนท์. (2555). การจัดการระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับและกรีนโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุธิดา ทับทิมศรี. (2558). การบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/8622018-05-04.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). E-commerce แรงไม่ตก ดันโลจิสติกส์โต. สืบค้น 30 มกราคม 2563, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/E-Commerce_Logistic.pdf.
อรรถพล ธรรมไพบูลย์ นุช สัทธาฉัตรมงคล และลาวรรณ์ อนันต์ชลาลัย. (2559). การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทานสีเขียวและผลกระทบต่อภาพลักษณ์องค์กร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2),109-128.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Anbuudayasankar, S. P., Ganesh. K, & Mohapatra, S. (2014). Models for Practical Routing Problems in Logistics: Design and Practices. Switzerland: Springer.
Arnab., B., & Sameer., B. (2022). Impact of COVID-19 on ports, multimodal logistics and transport sector in India: Responses and policy imperatives. Transport Policy, https://doi.org/10.1016/j.tranpol.2022.10.014.
Field, A.2005) ). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.). London: Sage.
Henriette, B. D., & Dorthe, B. (2012). Value-Added Logistics in Supply Chain Management. Academica: Copenhagen.
Hu, L., & Bentler, P. (1998). Fit Indices in Covariance Structure modeling: Sensitivity to under parameterized model misspecification. Psychological Methods, 3, 424-453.
Khan, S. A. R. (2019). The Effect of Green Logistics on Economic growth, Social and Environmental Sustainability: An Empirical Study of Developing Countries in Asia. Preprints 2019, 2019010104 (doi: 10.20944/preprints201901.0104.v1
Kunert, C. (2018). Design for stability in transport Logistics-Definition concepts and evaluation. Germany: KIT Scientific Publishing.
Noruzi, A. T. (2016). Green Logistics. A critical view of the environmentally-friendly measures in the transport and logistics sector. Mexico: GRIN Verlag.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Sarkis, J. & Dou, Y. (2017). Green Supply Chain Management: A Concise introduction. UK: Routledge.
Song, M. & Lee H., (2022). The relationship between international trade and logistics performance: A focus on the South Korean industrial sector. Research in Transportation Business & Management, Volume 44, 2022,100786,ISSN 2210-5395, https://doi.org/10.1016/j.rtbm.2022.100786.