แบบจำลองการประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาตามสภาพจริง

Main Article Content

ศิริรัชนี ฉายแสง
ธีระสุต สุขกำเนิด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบจำลองการประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาตามสภาพจริง และทดลองใช้งาน โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสหกิจศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 80 คน (2) กลุ่มตัวอย่างผู้นิเทศงานของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสหกิจศึกษา จำนวน 40 คน และ (3) กลุ่มตัวอย่างอาจารย์นิเทศของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสหกิจศึกษา จำนวน 2 คน ซึ่งใช้แบบสอบถาม/แบบประเมินและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T ผลการวิจัย พบว่า


1) แบบจำลองการประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาตามสภาพจริงที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การประเมินผลโดยใช้วิธีการประเมินตนเองตามสภาพจริงของนักศึกษาสหกิจศึกษา จำนวน 5 ครั้ง ร่วมกับการประเมินแฟ้มสะสมผลงานโดยผู้นิเทศงานและอาจารย์นิเทศ จำนวน 4 ครั้ง


2) แบบจำลองการประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาตามสภาพจริง ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านทักษะทางปัญญาและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ


3) แบบจำลองการประเมินผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาตามสภาพจริง ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาสหกิจศึกษาได้ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของนักศึกษาสหกิจศึกษา ผู้นิเทศงาน และอาจารย์นิเทศ โดยการประเมินตนเองตามสภาพจริงช่วยให้นักศึกษาสหกิจศึกษาทราบระดับความสามารถของตนเอง ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน และสามารถนำมาปรับปรุงตนเองได้ ส่วนแฟ้มสะสมผลงานช่วยให้นักศึกษาสหกิจศึกษาทราบว่า ในแต่ละวันได้ทำงานอะไรไปบ้าง และมองเห็นพัฒนาการของตัวเองว่า จะสามารถทำงานที่ยากขึ้นได้หรือไม่ อีกทั้งยังช่วยผู้นิเทศงานและอาจารย์นิเทศให้ทราบความคิดเห็นของนักศึกษาสหกิจศึกษา และทราบว่าควรให้คำแนะนำหรือปฏิบัติตัวอย่างใรในการให้คำแนะนำแก่นักศึกษาสหกิจศึกษา ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติสหกิจศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จิตราพร ลีละวัฒน์. (2552). การบริหารจัดการตนเองของนักศึกษาในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารสหกิจศึกษาไทย, 1(1), 69-74.

พรชัย มงคลวนิช. (2552). ปัจจัยที่ส่งเสริมและฉุดรั้งความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารสหกิจศึกษาไทย, 1(1), 19-38.

มินท์. (2548). เรื่องพัฒนาซอฟต์แวร์มีแค่นี้. แปลโดย สมชาย กิตติชัยกุลกิจ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

วีรวรรณ จันทนะทรัพย์, ภภัสสร สิงหธรรม, นิภาพร ปัญญา และนริศรา นาคเมธี. (2554). การประเมินผลสัมฤทธิ์ โครงการสหกิจศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2555). คู่มือการจัดสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ ซิตี้.

สุขุมาล เกิดนอก, นพพล ตั้งสุภาชัย และ จอมภัค จันทะคัต. (2552). ความพึงพอใจขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตต่อบัณฑิตหลักสูตรสหกิจศึกษาเปรียบเทียบกับบัณฑิตหลักสูตรทั่วไปในเขตจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่อีสานใต้ (จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์). กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุเมธ แย้มนุ่น. (2560). การประเมินผลสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

Carroll, D. (2013). Business student’s attitudes to criteria based self-assessment and self-efficacy. In H. Carter, M. Gosper & J. Hedberg (Eds.), Electric Dreams. Proceedings Ascilite 2013 Sydney.

Jaekel, A., Hector, S., Northwood, D., Benzinger, K., Salinitri, G., Johrendt, J. & Watters, M. (2011). Development of Learning Outcomes Assessment Methods for Co-operative Education Programs. Canada: University of Winsor.

Johrendt, J., Singh, P., Hector, S., Watters, M., Salinitri, G., Benzinger, K., Jaekel A. & Northwood, D. (2009). The Co-Op Portfolio: An Essential Tool for Assessment and Student Development in Co-operative Engineering Programs. In The 20th Australasian Association for Engineering Education Conference. Australia: University of Adelaide.

Burrus, J., Jackson, T., Xi, N., & Steinberg, J. (2013). Identifying the most important 21st century workforce competencies: An analysis of the occupational information network.