การใช้แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์
สุภา สุขวิบูลย์
รสรินทร์ อรอมรรัตน์
ชนาภรณ์ ปัญญาการผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่ได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากจาก 3 มหาวิทยาลัย จำนวน 12 ห้องเรียน ซึ่งได้จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชัน เรื่อง การนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching 2) แบบทดสอบก่อนการใช้แอปพลิเคชัน 3) แบบทดสอบหลังการใช้แอปพลิเคชัน 4) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน และ 5) แบบสอบถามการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ และคุณภาพของแอปพลิเคชัน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test


ผลการวิจัย พบว่า 1) แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มีคุณภาพด้านเนื้อหา และด้านเทคนิค อยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.08/82.58 2) คะแนนทดสอบหลังการใช้แอปพลิเคชัน สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนการใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นการใช้แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมระบบการนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ พบว่า การใช้แอปพลิเคชัน ทำให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในเรื่อง ระบบ
การนิเทศการศึกษาในรูปแบบ Coaching เพิ่มมากขึ้น สามารถทำให้นักศึกษาเข้าถึงเนื้อหาได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ และสามารถทำให้เกิดการจดจำเนื้อหาและเพิ่มความจำระยะยาวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กฤษณะ วุฒิพันธุ์ชัย. (2559). ต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันแพลตฟอร์มเพื่อการเกษตรยุคดิจิตอล. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ณัฎฐ์ฤทัย อรุณศิโรจน์ และคณะ. (2564). การใช้เกมแอปพลิเคชันในการพัฒนาการเรียนรู้ระบบคำภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 15(1), 47-63.

นิตยา ย้อยแก้ว และคณะ. (2564). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันความจริงเสริมร่วมกับการจัดการ เรียนรู้โดยใช้คำถาม ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 6(1): 53-62.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปรัชกร พรมมา. (2559). การพัฒนาแอปพลิเคชันเกมสามมิติประเภทสวมบทบาทเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้คําศัพท์ภาษาอังกฤษ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ยุพิน รสภา และคณะ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้วยเทคนิคเพื่อนเรียน โดยอาศัยแอปพลิเคชัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(1), 26-29.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

สุชาติ เพชรเทียนชัย และคณะ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ วิชาฟุตบอล สำหรับ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(2), 14-27.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. (2560). แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Supervision Concepts for the Development of Learning Management Competencies in the 21st Century). วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(1), 203-222.

โฮกุโตะ ชิบาซากิ และคณะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Lawarath Social E-Journal, 3(2), 31-45.

Blanchard and Thacker. (2004). Effective Training System: System, Strategies and Practices. 2nd ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Gagne, R., Briggs, L, and Wager, W. (1992). Principles of Instructional Design. New York: Holt,Rinehart, and Winston.