ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบเชิงสมมติฐาน ของผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมบริการสำหรับอาคารและภูมิทัศน์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง และทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมบริการสำหรับอาคารและภูมิทัศน์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจันในครั้งนี้ 260 ตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ทำการพิจารณาถึงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้เครื่องมือทางเทคนิคสถิติ Structural Equation Modeling ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามกฎแห่งความชัดเจน
ผลการศึกษาพบว่า การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการมุ่งเน้นการตลาด โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.89 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลดำเนินงานโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.05 การมุ่งเน้นการตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.49 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลดำเนินงาน โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.34 ความได้เปรียบทางการแข่งขันมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลดำเนินงาน โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.52 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกวลี แก่นจันดา. (2565). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1). 71-85.
ธัญนันท์ บุญอยู่, สุชารัตน์ บุญอยู่ และกนกอร บุญมาเกิด. (2563). อิทธิพลของการกล้าเผชิญความเสี่ยงที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดาเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 115-123.
พัชรา กลิ่นชวนชื่น. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจที่อยู่อาศัยต่างจังหวัด (6 จังหวัดหลัก). สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก: https://www.krungsri.com/ th/research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-upcountry/IO/ io-Housing-in-Upcountry-21
พัชรา กลิ่นชวนชื่น. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567: แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567: ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-bmr/io/housing-in-bmr-22
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2554). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130). 14-35.
พรรณราย อักษรถึง. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับและผลของพฤติกรรมการทำงานเชิงรุกทีส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผน. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2554). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130). 14-35.
สุธีรา อะทะวงษา และสมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการและ ลักษณะของสถานประกอบการ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) (2564). จำนวนผู้ประกอบการรายอุตสาหกรรม, จาก https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiYjM4YTg5MjMtMTgx Ny00NjcyLThlN2MtYjc0MDVlM2QzMmEwIiwidCI6ImExZmZjMjhhLTEzZmMtNDhiMC05NGRmLWYyYWIyOGUwNWNhNSIsImMiOjEwfQ==
Jackson, S.E., Joshi, A. and Erhardt, N.L. (2003) Recent Research on Team and Organizational Diversity: SWOT Analysis and Implications. Journal of Management, 29(6), 801-830.
Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the entrepreneurial orientation construct and linking it to performance. The Academy of Management Review, 21(1), 35-172.
Mokaya, S. O. (2012). Corporate Entrepreneurship and Organizational Performance: Theoretical Perspectives, Approaches and Outcomes. International Journal of Arts and Commerce, 1(4), 133-143.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner's guide to structural equation modeling (3rd ed.). Routledge/Taylor & Francis Group.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A beginner's guide to structural equation modeling. Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
World Bank. (2021). Thailand Economic Monitor: Living with COVID in a Digital World (English). Washington, D.C.: World Bank Group. http://documents.worldbank.org/ curated/en/099505112112129099/P1774810eff81c0030b22f0874a695a491d