การวิเคราะห์มาตรฐานของศิลปินไทยร่วมสมัยที่แสดงผลงาน ในเทศกาลศิลปะนานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ.2545-2565

Main Article Content

เมธาสิทธิ์ อัดดก
สุชาติ เถาทอง
สุริยะ ฉายะเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มาตรฐานของศิลปินไทยร่วมสมัยที่แสดงผลงานใน‍เทศกาลศิลปะนานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2565 โดยผลลัพธ์นำมาสู่ปัจจัยการส่งเสริมศิลปินไทยในการเผยแพร่ผลงานศิลปะร่วมสมัยในเทศกาลศิลปะนานาชาติ


พบว่า มาตรฐานของศิลปินไทยร่วมสมัยที่แสดงผลงานในเทศกาลศิลปะนานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ.2545-2565 ตามการวิเคราะห์ด้านคุณลักษณะของปัจจัยด้านคุณสมบัติศิลปินไทยสู่เวทีเทศกาลศิลปะนานาชาติประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 7 ประการ คือ (1) รูปแบบผลงานศิลปะที่‍ร่วม‍สมัยกับ‍นานาชาติ (2) เนื้อหาของผลงานศิลปะที่สอดคล้องกับกระแสสังคมร่วมสมัย (3) ‍ประวัติการ‍แสดง‍ผลงานศิลปะของศิลปินที่มีความต่อเนื่อง (4) ความสัมพันธ์ของศิลปินกับเครือข่ายในวงการศิลปะ (5) ‍การสนับสนุนศิลปินขององค์กรรัฐ (6) การสนับสนุนศิลปินของภาคเอกชน และ (7) ‍การ‍สนับสนุนศิลปินจากเครือข่ายในวงการศิลปะร่วมสมัย ซึ่งในกรณีศึกษาศิลปินไทยทั้ง 3 คน คือ ‍(1) สุธี คุณา‍วิ‍ชยานนท์ (2) สาครินทร์ เครืออ่อน และ (3) อริญชย์ รุ่งแจ้ง พบว่า ศิลปินไทยทั้ง ‍3 ‍คน มี‍องค์ประกอบที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของปัจจัยด้านคุณสมบัติศิลปินไทยสู่เวทีเทศกาลศิลปะนานาชาติ 7 ประการ ซึ่งสมมติฐานได้ว่า ปัจจัยด้านคุณสมบัติศิลปินไทยสู่เวทีเทศกาลศิลปะนานาชาติประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 7 ประการ เป็นข้อค้นพบเชิง‍วิเคราะห์สำหรับการันตีถึงแนวทางในการพิจารณามาตรฐานของศิลปินที่จะไปสู่เวทีนานาชาติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (8 - 14 กันยายน 2560). นักเล่นแร่แปรธาตุแห่งวงการศิลปะ (1). เข้าถึงได้จาก มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/art/article_54141.

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2563). โครงการวิจัยเรื่อง “ความสำนึกร่วมในพัฒนาการศิลปะและการวิจารณ์ของไทย: หมุดหมายที่สำคัญในช่วงพ.ศ. 2475 ถึง 2550”. รายงานวิจัย เล่ม 3 สาขาทัศนศิลป์. เข้าถึงได้จาก https://www.thaicritic.com/wp-content/uploads/2022/06/3.-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C-1.pdf

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2565). สำนึกร่วมจากมิติท้องถิ่นสังคมไทยในบริบทร่วมสมัยของงานทัศนศิลป์และการวิจารณ์ของไทย ช่วงพุทธทศวรรษ 2530-2540. วารสาร DEC Journal, 1(3), 11-45.

หัสภพ ตั้งมหาเมฆ. (2555). ศิลปะร่วมสมัยไทยในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hirst, D. (2012). Damien Hirst. Millbank, London: Tate Publishing.

Liverpool Biennial. (1999). Sutee Kunavichayanont at Liverpool Biennial 1999. Retrieved from Liverpool Biennial: https://www.biennial.com/1999/exhibition/artists/sutee-kunavichayanont.

Murakami, T. (2018). Takashi Murakami : lineage of eccentrics : a collaboration with Nobuo Tsuji and the Museum of Fine Arts, Boston. Boston: MFA Publications, Museum of Fine Arts.

Public Delivery. (2007). THAI ARTIST FAILED MISERABLY, OR DID HE NOT? – SAKARIN KRUE-ON. Retrieved June 28, 2019, from Public Delivery: https://publicdelivery.org/ sakarin-krue-on-terraced-rice-fields/.

Rothkopf, S. (2014). Jeff Koons: a retrospective. New York: Whitney Museum of American Art.

Russeth, A. (2019, April 17). The Venice Biennale: Everything You Could Ever Want to Know. Retrieved from ARTnewS: https://www.artnews.com/art-news/market/the-venice-biennale-everything-you-could-ever-want-to-know-12373/.