การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในด้านจิตสำนึกประชาสังคม เพื่อการพัฒนาชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปราการ เกิดมีสุข
เพ็ชรรัตน์ ฮีมินกูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบททั่วไปของโครงการดำเนินงานพัฒนาชุมชนวัด ปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุกับบทบาทการเข้าร่วมการดำเนินงานพัฒนาชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในด้านจิตสำนึกประชาสังคม เพื่อการพัฒนาชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 4. เพื่อเสนอแนะสนับสนุนเครือข่ายในด้านจิตสำนึกประชาสังคม ในการพัฒนาชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 ราย ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบททั่วไปของชุมชนวัดปุรณาวาส มีโครงสร้างประชากรเป็นชุมชนภูมิวัฒนธรรมดั้งเดิม มีด้านประกอบอาชีพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณูปโภคและด้านวัฒนธรรม สู่การพัฒนาชุมชน 2. การมีส่วนร่วมดำเนินงานพัฒนาชุมชนของผู้สูงอายุ พบว่า คณะกรรมการชุมชนมีความเข้มแข็ง สื่อสารได้รวดเร็ว เปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีกิจกรรมของผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพ สุขอนามัยและด้านประชาคมส่งผลต่อการร่วมพัฒนาชุมชน 3. บทบาทของผู้สูงอายุในด้านจิตสำนึก พบว่า คณะกรรมการชุมชน ได้กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ ชัดเจน เป็นประชาธิปไตยในการร่วมมือกันแก้อุปสรรคและปัญหา ด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน 4. เสนอแนะสนับสนุนเครือข่ายในด้านจิตสำนึกประชาสังคม พบว่า การมีส่วนร่วมของเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยสร้างพันธมิตรในการพัฒนาการพึ่งพาตนเอง ในการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม อาชีพ สุขอนามัย การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น สู่การพัฒนาโครงการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรกช แสนจิตร. (2564). การศึกษาระดับความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 8(1), 96-123.

กัลยารัตน์ คาดสนิท สายสุดา จันหัวนา กัลยาณี สมท้าว นพรพรรณ ชัยนาม สายัณห์ งวงช้าง และกันนิษฐา มาเห็ม. (2566). การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤต คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันราชชนก. https://misn.pbri.ac.th/การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล.

เกรียงศักดิ์ รัฐกุล และธวัชชัย ศรีพรงาม. (2566). ความสุขของผู้สูงอายุในสังคมพหุวัฒนธรรม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 5(1), 125-151.

จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2567). บทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อชมรมผู้สูงอายุไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 27(1), 10-11.

ชลิดา ลิ้นจี่, กนกมณี หอมแก้วและกฤติเดช พุธวัฒนาภรณ์. (2567). การสำรวจความต้องการการรับบริการวิชาการของชุมชนวัดปุรณาวาส แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาค, 18(57), 260-262.

พงศ์เพชร พรหมงาม. (2564). บทบาทของคณะกรรมการชุมชนกับการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนในพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตย. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปัญโญ พระครูพิลาสธรรมากร (ณัฐพล ประชุณหะ) สมบูรณ์ ตาสนธิ และอํานาจ ขัดวิชัย. (2567). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการวัดบันดาลใจ. วารสารปณิธาน, 20(1), 56-59.

ปราการ เกิดมีสุข. (2566). การดำเนินวิถีชีวิตตามหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ ชุมชน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ช่วงภาวะโรคระบาดโควิด 19. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรุงเทพธนุรี, 12(2), 62-74.

มธุรส สว่างบำรุง และธีรยุทธ วิสุทธิ. (2567). การจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิงเพื่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 18(1), 128-142.

วีระนนท์ จากผา. (2566). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ กรุงเทพมหานคร. โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Charoenwong, S., Kongkun, P., Chansangrat, N. & Sriwan, P. (2018). Dependent elders in a Southern rural muslim community: current situation of care and for long-term care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 231-246.