ผลกระทบของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลกระทบของการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย เฉพาะผู้ที่มีสิทธิลงรายมือชื่อ จำนวน 312 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 31 - 40 ปี มีระดับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี ประสบการณ์ด้านการตรวจสอบและรับรองบัญชีน้อยกว่า 3 ปี เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชีภาษีอากรอยู่ที่ 10 - 15 ชั่วโมง/ปี และมีความรู้เพิ่มเติมทางด้านกฎหมาย โดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีระดับความเห็นต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (TFRS for SMEs) 1) ด้านการนำเสนองบการเงิน ทุกมิติอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สิน มิติเงินลงทุนในบริษัทย่อย มิติเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า อยู่ในระดับปานกลาง มิติที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มิติอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มิติต้นทุนการกู้ยืม และมิติสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อยู่ในระดับมาก และ 3) ด้านการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย มิติโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า มิติผลประโยชน์ของพนักงาน มิติการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง มิติการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และมิติภาษีเงินได้ อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ความเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในทุกด้านอยู่ในระดับมาก
538
Article Details
References
กรมสรรพากร. (2560). ผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่มี สิทธิ์ลง ลายมือชื่อ ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560,จาก: http://taxaudit.rd.go.th/ta2/TaxAuditor_01.jsp
ปฐมชัย กรเลิศ. (2555). ความรู้ความเข้าใจของผู้สอบ บัญชีภาษีอากรเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มี ส่วนได้เสีย สาธารณะ .วิทยานิพนธ์ บช.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศลิษา หวังดี. (2555). ความรู้ความเข้าใจต่อมาตรฐาน การรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มี ส่วนได้เสียสาธารณะของผู้ทำบัญชีในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูน . วิทยานิพนธ์ บช.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). TFRS for SMEs ประเด็นสำคัญที่คุณอ่านไม่ทราบ เกี่ยวกับมาตรฐานใหม่ ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2560, จาก: http://www.fap.or.th/ images /column_1465890555/TFRSforSMEs.pdf
อัมรินทร์ จ่าทัน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะ การเรียนรู้ทางการบัญชีกับความสำเร็จในการ ประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีของผู้ทำบัญชี ในจังหวัดระยอง .วิทยานิพนธ์ บช.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Hair, J. F. J., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Sriois, L. Peter and Louis Crawford. “The Application of Diagnostic Model and Surveys in Organizational Development,” Journal of Management Psychology. 15(2) : 1-7 ; January, 2009.