วรรณวรางค์ เล็กอุทัย อักษร: ความลวงในพื้นที่เสมือน

Main Article Content

Puvasa Ruangchewin

บทคัดย่อ

การสื่อสารในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตผู้คน อักษรที่เคยเป็นภาษาเขียน ภาษาพูด ได้กลายมามีบทบาทในบริบทใหม่ บนพื้นที่สังคมออนไลน์ เป็นอักษรที่ไร้สภาวะไร้ตัวตน แต่กลับสร้างสัมผัสรับรู้ต่อผู้คนอย่างมาก อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ และมีผลไปถึงความรู้สึกผูกพันจาก การสื่อสารของโลกอินเตอร์เน็ต ผู้คนเลือกที่จะมีตัวตนในพื้นที่เสมือน มากกว่าพื้นที่ความเป็นจริง จากสภาพการณ์ผลสะท้อนจากสังคมก้มหน้าของผู้คน จุดประเด็นในการศึกษาค้นคว้าบริบทที่เกี่ยว ข้องกับอักษรในพื้นที่เสมือนและอักษรในพื้นที่ศิลปะ นำเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อักษร: ความลวงในพื้นที่เสมือน เพื่อสร้างการรับรู้ภาษาของโลกเสมือนโดยผู้ชมสามารถเข้ามาปฏิสัมพันธ์ตอบโต้กับผลงาน ได้พิจารณาในการเลือกใช้คำแสดงความหมาย เกิดการแตกความคิด การตีความ  และเกิดการตระหนักรู้ จริง ลวง ในการรับรู้ข้อมูลบนพื้นที่เสมือนจากผลงานอักษรศิลปะจัดวาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีรยุทธ บุญมี. (2546). โลก MODERN & POST MODERN. กรุงเทพฯ: สายธาร.
นพพร ประชากุล และชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (2539). บทสัมภาษณ์: มองหลากมุมโพสต์โมเดิร์น
ในเชิงอรรถวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ยูเนียน
อุลตร้าไวโอเร็ต.
อุทัย วรเมธีศรีสกุล และโสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2559). วิเคราะห์การใช้สื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กของคนไทย
ปัจจุบันเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 103-120.
Sripoom, K. (2017). Online Social Language Variety: A case Study of Thai Language
Variations in Line Stickers. In “2017 India- ASEAN Annual Winter Conference”,
Institute of Southeast Asian Studies, Hankuk University of Foreign Studies. Seoul,
South Korea, 8 Dec (pp. 165-179)