ชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์

Main Article Content

สุพิศ เสียงก้อง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้กล่าวถึงชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานบรรจุภัณฑ์ในครั้งแรก  โดยที่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ทำมาจาก 4 วัสดุหลักได้แก่ กระดาษ โลหะ แก้วและพลาสติก ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์มักจะใช้งานครั้งเดียวแล้วถูกทิ้งเป็นขยะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพลาสติกซึ่งบางชนิดไม่ย่อยสลายในธรรมชาติทำให้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก  การสร้างชีวิตที่สองให้กับบรรจุภัณฑ์ก็เป็นแนวทางหนึ่งของการกำจัดขยะหรือลดจำนวนขยะและยังได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆใช้งานได้ โดยที่เกิดประโยชน์หลายทางทั้งลดการใช้พลังงาน  ลดการใช้วัสดุใหม่ และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่สุด ในการเกิดชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์นั้นทำได้ใน 3 แนวทาง ได้แก่ 1.การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ(Reuse) เช่น การนำขวดแก้วใช้แล้วมาบรรจุผลิตภัณฑ์อื่นๆใช้งานต่อไป  2.การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง(Recycle ) เช่น การนำขวดน้ำดื่มพลาสติกใช้แล้วมาหลอมขึ้นรูปเป็นเส้นใยทอพรม หรือผ้าร่มใช้งานได้อีกครั้ง  3. การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาแปรสภาพ (Upcycle) เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น นำถุงปุ๋ยมาตัดเย็บเป็นหมวก กระเป๋า หรือ นำขวดแก้วใช้แล้วมาทำเป็นโคมไฟ เป็นต้น โดยที่ทั้งสามวิธีการสามารถทำได้ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับองค์กร  ในปัจจุบันก็มีการส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดการกับขยะบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะได้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและก่อเกิดชีวิตที่สองของบรรจุภัณฑ์ใช้งานได้อีกครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561ก). ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2561, จาก
http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_rubbish.htm
_______________. (2561ข). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2560. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน
2561, จาก http://www.pcd.go.th/public/Pubilications/ print_report.cfm
_______________. (2561ค). (ร่าง) แผนจัดการขยะพลาสติกอย่างบูรณาการ (พ.ศ.2560-2564). สืบค้น
วันที่ 5 ตุลาคม 2561, จาก http://www.pcd.go.th/count/lawdl.cfm?FileName=DraftWastePlan
60-64
การรีไซเคิลอลูมิเนียม. สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2561, จาก http://web.ku.ac.th/schoolnet6/envi4/recycle/
Alum.htm
ธนาวดี ลี้จากภัย. (2545). เมืองรีไซเคิลวัสดุ ตอน รีไซเคิลกระดาษและรีไซเคิลพลาสติก. กรุงเทพฯ: ศูนย์
เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ.
_____________. (2546). เมืองรีไซเคิลวัสดุ ตอน รีไซเคิลแก้วและรีไซเคิลกระป๋อง. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยี
และวัสดุแห่งชาติ.
บรรจุภัณฑ์น่ารักๆสำหรับผลิตภัณฑ์จากถั่วและผลไม้จาก Marieve Dorman. สืบค้นวันที่ 13 ตุลาคม 2561,
จาก http://www.bunjupun.com/2010/05/
นวัตกรรมใหม่จากยีนส์ ลีวายส์. สืบค้นวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561, จาก http://gotomanager.com/tags/
สัญลักษณ์นี้ควรรู้ไว้...พลาสติกชนิดใดรีไซเคิลได้. สืบค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.
Posttoday.com/350050
สุพิศ เสียงก้อง. (2560). “แปลงกาย” ใน นิทรรศการศิลปกรรมบูรพา วันที่ 7-24 กันยายน 2560. กรุงเทพฯ:
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อาศิรา พนาราม. (2561). Upcycling เทคนิคการรีไซเคิลธรรมดาที่ไม่ธรรมดา. TCDC. สืบค้นวันที่ 10
พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.tcdcconnect.com/content/658/upcycling
Institut fur Auslandsbeziehungen. (2017). Pure Gold Upcycleed! Upgrade!. Germany: Specter
Book.
Upcyclingtheoceansthailand. (2561). Single Use Plastic ปัญหาจากการใช้อย่างไร้ความรับผิดชอบ.
สืบค้นวันที่ 13 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.facebook.com/ Upcyclingtheoceansthailand/
_________________________. (2561). World Without Wasteของโคคา โคล่าประเทศไทย. สืบค้นวันที่
3 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.facebook.com/ Upcyclingtheoceansthailand/