จาก “ห้องแถวไม้” มาเป็น “ตึกแถว” ในตลาดหนองมน พัฒนาการความเป็นอยู่ชุมชน ควบคู่กับสถาปัตยกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตลาดหนองมนชุมชนการค้าเก่าแก่ แห่งดินแดนบูรพาทิศ บนผืนแผ่นดินไทย ที่ครั้งหนึ่งเคยเฟื่องฟูมาก ก่อนที่จะเกิดภาวะเศษฐกิจ พ.ศ. 2540 โดยชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนค้าขายอย่างแท้จริง สังเกตได้จากรูปแบบอาคารที่ปรากฏอยู่ในตลาดแห่งนี้ ตั้งแต่อาคารยุคแรกจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเป็นอาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น และที่น่าสนใจที่สุดคือ ตลาดหนองมนมีอาคารพาณิชย์หลายแบบหลายยุคในที่เดียวกัน เริ่มตั้งแต่ที่เป็น “ห้องแถว” ชั้นเดียว และพัฒนาการมาจนเป็น “ตึกแถว” แบบหลายชั้น ซึ่งโดยปกติในชุมชนอื่นมักจะมีไม่ครบทุกยุคสมัยเช่นนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น อาคารพาณิชย์ในหนองมนจึงสามารถเล่าเรื่องราวของตนเองผ่านสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ ทำให้เรามองเห็นช่วงกำเนิด รุ่งเรือง และการหยุดนิ่ง ได้อย่างชัดเจน ผ่านสถาปัตยกรรมในตลาดหนองมนแห่งนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
เยาวภา จันทร์สอน. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2524). ปัญหาตึกแถว. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน โรงพิมพ์ ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
ควิน ลิมป์. (2553). การศึกษาตึกแถวในสมัยรัชกาลที่ 5 จากแผนที่ กรุงเทพฯ ปีพ.ศ. 2450. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชนิดา ตันติยาพงษ์. (2546). ภาพพจน์ตลาดหนองมนในทรรศนะของนักท่องเที่ยว. ปัญหาพิเศษ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, 2546. วิทยานิพนธ์. ชลบุรี: สาขาวิชาบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย บูรพา.
ชูวิทย์ สุขฉายา. (2518). ตึกแถวกับการออกแบบชุมชน. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น. ณ ปากน้ำ [นามแฝง]. (2543). แบบแผนบ้านเรือนในสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
สำนักนายกรัฐมนตรี. คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2525). ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2475. กรุงเทพมหานคร: กองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร.