THE ROLES OF PHANAKORN NATIONAL MUSEUM ON DISSEMINATION OF ASEAN ARTS HISTORY KNOWLEDGE TO THE PUBLIC

Main Article Content

ศรันย์ จันทร์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเส้นด้ายใยอ้อยสำหรับทอด้วยกี่พื้นเมือง 2) ผลิตผ้า ทอใยอ้อยแบบหัตถกรรม และ 3) ผลิตผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าทอใยอ้อย ผลการวิจัยพบว่า เส้นใยรังไหม เส้นใยใบอ้อย และเส้นใยฝ้าย นำมาผสมรวมกันตามสัดส่วนจำนวน 6 ชุดทดลอง ได้แก่ชุดที่ 1 (โดยปริมาตรร้อยละ 20 : 60 : 20) ชุดที่ 2 (20 : 40 : 40) ชุดที่ 3 (20 : 20 : 60) ชุดที่ 4 (40 : 40 : 20) ชุดที่ 5 (40 : 20 : 40) และชุดที่ 6 (60 : 20 : 20) แล้วใช้กงดีดฝ้ายดีดให้เป็นปุยก่อน ฟั่นด้ายพบว่า ทั้ง 6 ชุดทดลอง ให้เส้นด้ายใยอ้อยที่สามารถนำไปทอด้วยกี่พื้นเมืองได้ผ้าทอใยอ้อยมี คุณสมบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมดังนี้ ความคงทนต่อแรงฉีกขาดสูงสุด 32.55 นิวตัน คือ ผืนที่ 1 (20 : 60 : 20) แรงดึงขาดของเส้นด้ายตามแนวด้ายพุ่ง 6.79 นิวตัน อัตราเร็วของระยะยืดเฉลี่ย 27.03 มิลลิเมตร คือ ผืนที่ 2 (20 : 40 : 40) และความหนามากที่สุด 1.533 มิลลิเมตร คือ ผืนที่ 3 (20 : 20 : 60) ความโค้งงอด้านเส้นพุ่งค่าเฉลี่ยสูงสุด 5.00 เซนติเมตร คือ ผืนที่ 5 (40 : 20 : 40) และการ ดูดซึมความชื้นเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 7.19 คือ ผืนที่ 6 เมื่อแปรรูปผ้าทอใยอ้อยเป็นโคมไฟพบว่า ขึ้น โครงได้คงรูปสวยงาม โคมไฟนำไปใช้งานได้จริง ปริมาณแสงไฟออกจากตัวโคมไฟอยู่ในระดับดี การกระจายแสงสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). ผลงานวิจัยเส้นใยจากของเหลือการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562.
จาก http://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/39449-020525601656
บุรินทร์ พุทธโชติ. (2562). การผลิตเส้นใยสมรรถนะสูง (High Performance Fibers) เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2562. จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/high_performance_fibers.pdf
รังสิมา ชลคุป วีรศักดิ์ สมิทธิพงศ์ และกล้าณรงค์ ศรีรอด. (2552). วัสดุชีวภาพรักษ์โลก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2562). สถิติสิ่งทอไทย 2559/2560. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2562. จาก https://www.thaitextile.org/th/fiu/index.g002.200.html
สาคร ชลสาคร. (2558). เทคโนโลยีการแยกสกัดใยจากพืช. กรงุเทพฯ : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม
เสาวณีย์ อารีจงเจริญ นฤพน ไพศาลตนัตวิงศ์ รัตพล มงคลรตันาสทิธ ิ์และสาคร ชลสาคร. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยตะไคร.้ รายงานการวิจัย. กรงุเทพฯ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร