การศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาจากการเรียนการสอน วิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

Main Article Content

นิจจัง พันธะพจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาในรายวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ และเพื่อศึกษาผลการสอนวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประชากรในการวิจัยได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา อน.283 การออกแบบสื่อ 4 มิติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองคือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคเรียนของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนาเป็นการวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลแสดงการวัดผลในรูปของค่ากลางได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดและประเมินผลโดยผู้สอนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ  2) สัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อเป็นกรณีศึกษา แบ่งประเด็นดังนี้ เนื้อหาของการเรียน ลักษณะการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติและการวัดผล พฤติกรรม ทัศนคติต่อการเรียน ข้อคิดเห็นอื่นๆ จากนั้นนำข้อสรุปมาอภิปรายผลร่วมกับข้อมูลทางสถิติที่วิเคราะห์แล้วต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์จากผลงานปลายภาคการศึกษาจากการเรียนการสอนวิชาการออกแบบสื่อ 4 มิติ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก( = 3.64) สูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ผลการสอนและความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาค่อนข้างดี นักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลอง สุนทรนนท์. (2558). ศิลปะสร้างสรรค์พัฒนา (EQ) เด็ก. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์ .กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง.
ธร เห็นประเสริฐ และ ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2558). การวิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนและแนวการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิจัยแบบผสมวิธี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 10(1)
ธิดารัตน์ จันทะโก. (2556). คุณลักษณะดี เก่ง มีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา. วารสารราชพฤกษ์, 10(3)
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2533). เอกสารประกอบการสอนเรื่องกิจกรรมสร้างสรรค์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน.กรุงเทพ
:ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศิกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุมินตรา แก่นท่าตาล. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการออกแบบอนิเมชัน 2 มิติ โดยใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปี ที่ 1/15A สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ
สุทิน ชนะบุญ. (2549). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพ เบื้องต้น. ขอนแก่น: สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
Fitz -Gibbon & Carol,T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.
Juliao, D. (2020) Graphic Design Application in Time-Based Media. Retrieved May 20, 2020, https://study.com/academy/lesson/graphic-design-application-in-time-based-media.html
Layboune, K. (1998). The Animation book. New York: Three river press.
Palmisano , S. (2004). Defining Creativity and Innovation .Retrieved May 21, 2020, https://www.creativityatwork.com/2014/02/17/what-is-creativity
Söylemez, S. and Güneş, F. (2018) The Skill Approach in Education: From Theory to Practice.Cambridge :Scholars Publishing,
Torrance. E. P. (1962). Guiding Creative Talent. New Jersey: Prentice–Hall.