การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้านชุด ระบำกล้วยตาก

Main Article Content

กัลยาณี เจ็กท่านา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำกล้วยตาก การแสดงระบำกล้วยตาก(เดิม) และข้อเสนอแนะในการพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้านชุด ระบำกล้วยตาก และ 2) พัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้านชุด ระบำกล้วยตากด้วยกระบวนการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ การเก็บข้อมูลการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 18 คน โดยมีผู้ร่วมการวิจัย จำนวน 6 คน ในการพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านชุด ระบำกล้วยตาก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการทำกล้วยตากมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ตั้งแต่การบ่มกล้วยจนถึงการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ โดยการแสดงระบำกล้วยตาก(เดิม) เป็นการแสดงที่นำเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการทำกล้วยตาก และข้อเสนอแนะประกอบการพัฒนาการแสดงส่วนใหญ่คือ เรื่ององค์ประกอบของการแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดง และ 2) การพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านชุด ระบำกล้วยตาก ได้ดำเนินการตามกระบวนการของการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย (1) การกำหนดแนวคิด (2) การออกแบบร่าง (3) การพัฒนาแบบ (4) การประกอบสร้าง (5) การเก็บรายละเอียด (6) การนำเสนอผลงาน และ (7) การประเมินผล จนได้การแสดงระบำกล้วยตากที่เป็นรูปแบบนาฏศิลป์พื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงการแสดง โดยมีการพัฒนาองค์ประกอบของดนตรี ท่วงท่ารำ ชุดการแสดง และอุปกรณ์ประกอบการแสดงให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิศารัตน์ สิงห์บุราณ กาญจนารัศมิ์ แจ่มฟ้า และศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด. (2560). การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ตาม
ยุคสมัย. ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563,
จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1508
พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร. (2562). การเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยในยุคดิจิทัล. วารสารกลุ่มมนุษยศาสตร์
–สังคมศาสตร์. 2(2): 67 - 82.
เรขา อินทรกำแหง. (2555, มกราคม - มิถุนายน). การวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่การพัฒนานวัตกรรมการ
แสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านชุด จับปู กรณีศึกษา: บ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัด
นครราชสีมา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(1): 98-121.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพฯ:
สยามปริทัศน์.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2562). พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์ : แนวคิดและการ
บริหารจัดการของนักวิจัย. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2562, จาก
https://slideplayer.in.th/slide/16166421/
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
______________ (2559). การวิจัยศิลปกรรมศาสตร์. รายงานการประชุม การประชุมวิชาการงานวิจัย
นาฏกรรมแนวสร้างสรรค์. กรงุเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.