พิพิธภัณฑ์ประติมากรรม อาซากุระ ฟูมิโอะ : สุนทรียภาพใหม่แห่งการผสมผสาน บ้านญี่ปุ่นและสตูดิโอตะวันตก

Main Article Content

ไพฑูรย์ ทองดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์และผลงาน
ประติมากรรมของอาซากุระ ฟูมิโอะ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยศึกษาผ่านรูปแบบการสร้าง
พิพิธภัณฑ์ ที่มีทั้งรูปแบบอาคารที่พักอาศัยแบบญี่ปุ่น ผสานกับสตูดิโอแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก
อันเป็นการแสดงถึงแนวความคิดและสุนทรียภาพของศิลปิน ผู้มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงาน
ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งให้ประโยชน์ต่อผู้สนใจทั้งงานของการสร้างพิพิธภัณฑ์ ที่มีความ
สัมพันธ์ ระหว่างรสนิยมรูปแบบทางศิลปะ และวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ผสมผสานและอยู่ร่วมกันได้
อย่างมีเอกลักษณ์ และมีคุณค่า
ทั้งนี้ จากการศึกษาเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมอาซากุระ ฟูมิโอะ
และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทำให้สรุปการศึกษาได้ 3
ประเด็นดังนี้
1) พิพิธภัณฑ์อาซากุระ ฟูมิโอะ มีรูปแบบเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์แบบผสมผสานทั้งรูปแบบ
ของอาคารแบบตะวันตกและแบบญี่ปุ่น เนื่องจากใช้สถานที่เดิม ที่เป็นทั้งสตูดิโอและบ้านพักของ
ศิลปินเป็นที่จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ ถึงแม้ว่าอาคารจะเคยมีการปรับปรุงแต่ก็ยังคงลักษณะโครงสร้าง
ของอาคารเดิม ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตของศิลปิน และบรรยากาศความเป็นวัฒนธรรม
แบบญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ไม่ถูกปรุงแต่งแบบพิพิธภัณฑ์ที่จัดสร้างในรูปแบบสมัยใหม่
2) การศึกษาผลงานประติมากรรมของอาซากุระ ฟูมิโอะ ผลงานของเขาจัดเป็นรูปแบบผล
งานประติมากรรมแบบสมัยใหม่ ซึ่งผลงานของเขาถูกสร้างขึ้นในช่วง 3 ยุคสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะ
ญี่ปุ่น ได้แก่ 2.1) สมัยเมจิหรือเมจิอิ (Meijii) ค.ศ.1864-1912 2.2) สมัยไทโซ (Taisho) ค.ศ.1912-
1926 และสมัยโชวะ (Showa) ค.ศ.1926-1989 โดยผลงานของศิลปินได้รับอิทธิพลในการสร้างสรรค์
จาก ออกุสต์ โรแดง ประติมากรชาวฝรั่งเศส
3) ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบที่มีส่วนในการผสมผสานรูปแบบตะวันตกและแบบญี่ปุ่น ของ
พิพิธภัณฑ์รวมถึงงานประติมากรรมของศิลปิน โดยการวิเคราะห์ สุนทรียภาพแห่งการผสมผสาน
ของอาซากุระ ฟูมิโอะ ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้ในความสามารถของเขาในด้าน สถาปัตยกรรม
ประติมากรรม และการจัดสวนญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ในเชิงสหวิทยาการ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัย ตะติยะ. (2549). ประติมากรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สิปประภา.

มาลินี คัมภีรญาณนนท์. (2532). ประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่น .นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปกรณ์ รวีวร และศิริวรรณ บัณฑิต. (2533). ออกุสต์ โรแดง ประติมากรอิมเพรสชั่นนิสต์ผู้มีหัวใจโรแมนติก. กรุงเทพฯ: แสวงหา.

สมศิริ อรุโณทัย. (2557). เอกสารคำสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันออก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิกไซท์.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553). ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

Agency for Cultural Affairs, (1998). Cultural Promotion Master Plan. Retrieved from https://www.bunka.go.jp/tokei_hakusho_shuppan/hakusho_nenjihokokusho/archive/pdf/r1402577_04.pdf

Agency for Cultural Affairs, (2001).Basic Act on Culture and the Arts. Retrieved from https://www.bunka.go.jp/english/policy/foundations/basic_act.html

Asakura Museum of Sculpture. (2008). Facility Information. Retrieved from http://www.taitocity.net/zaidan/english/asakura/

Asian Art. (2018). Tama. Retrieved from https://wonderlartcafe.tumblr.com/post/185584921131/asakura-fumio-1883-1864- tama-1930-asakura

Ally Homma. (2009). Asakura Choso museum. Retrieved from https://savvytokyo.com/tourtokyos-top-museums-galleries-and-other-cultural-facilities-with-grutto-pass2019/asakura-choso-museum-tokyo-2/.

Japanesehistory. (2005). Okuma Shigenobu, 1840-1900. Retrieved from

http://japanesehistory.de/cabinets/OkumaShigenobu.htm

Metmuseum. (2000). The Age of Bronze. Retrieved from https://www.metmuseum.org/art/collection/search/189265

Taito city Culture guidebook. (2018). Touring the Asakura Museum of Sculpture. Retrieved from http://www.taito-culture.jp/culture/asakura/english/asakura_guide_e_01.html.