วันชัย แก้วไทรสุ่น จตุโลกบาล: คติความเชื่อเดิม รูปแบบทางความงามทางสุนทรียภาพที่แตกต่าง ในประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้

Main Article Content

Puvasa Ruangchewin

บทคัดย่อ

ความงามทางสุนทรียภาพของรูปจตุโลกบาล ที่นักออกแบบหรือช่างได้สร้างผลงานตั้งแต่
เริ่มในศิลปะอินเดีย ส่งอิทธิพลให้กับจีน เกาหลีใต้ จีนและเกาหลีใต้ส่งผ่านให้กับญี่ปุ่น จีนส่งผ่านให้
กับไต้หวัน นักออกแบบหรือช่างต่างยึดคติความเชื่อที่มีมาตั้งแต่ในอินเดีย เชื่อว่าทั้งสี่จตุโลกบาล
เป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนาทั้งสี่ทิศ ปกป้องพระพุทธศาสนาและผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพุทธมหายาน ยึดพระสูตรสุวรรณประภาโสตตมสูตร แต่ในเชิงการ
ออกแบบแต่ละประเทศสร้างสี่จตุโลกบาลที่มีรูปแบบทางความงามที่ต่างกันไป ตามความเหมาะสม
ของสถานที่ วัสดุ ช่าง ปัจจัยของผู้มีความศรัทธารวมทั้งฐานะของผู้สร้าง ในศิลปะอินเดีย จีน
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ระยะเริ่มแรกการเรียกชื่อยังไม่กำหนด มากำหนดในชั้นหลัง สัญลักษณ์ที่ถือก็ไม่
กำหนดตายตัว ใบหน้าส่วนใหญ่แสดงหน้าตาดุ สวมชุดเกราะทหาร รูปแบบของปีศาจก็แตกต่าง
ตามความนิยมของช่าง ถ้ามีการลงสีก็ต่างกันออกไปไม่ตายตัว อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุก็ขึ้นกับพื้นที่
ในวัดถ้ำมีการใช้วัสดุเป็นดินเขียนสีเป็นรูปแบบประติมากรรมลอยตัว บางแห่งเป็นภาพสลักหิน ไม่
ลงสี ถ้าเป็นการสลักหินตามหน้าผาเป็นภาพนูนสูง ในระยะหลังประมาณราชวงศ์หยวนลงมา ช่าง
สร้างจตุโลกบาลในอาคาร และมีการกำหนดวิหารของจตุโลกบาล พบว่าใช้ดินเขียนสี ปูน หิน จนพบ
ว่ามีการใช้แผ่นเหล็กสร้างจตุโลกบาล ไม่เขียนสี เน้นชุดเกราะทหาร ถือสัญลักษณ์ สามารถที่จะ
เคลื่อนย้ายในการตั้งรูปจตุโลกบาลไว้ประตูทางเข้าของวัด เป็นการจำกัดพื้นที่ของวัดทำให้เกิด
ความงามของรูปแบบศิลปะแนวใหม่เกิดขึ้น ดังนั้นแล้วนักออกแบบหรือช่างจะต้องอาศัยข้อมูลทาง
ความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรูปแบบจตุโลกบาล คติความเชื่อ ความเข้าใจ
แผนผังของวัด การเลือกใช้วัสดุ เทคนิคการสร้างงานเพื่อให้เกิดความงามตามยุคสมัยของสังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ