แนวปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 กับรูปแบบการวิเคราะห์เพื่อการสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในตนเอง เพื่อยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา เพราะเมื่อได้ประจักษ์กับความจริงแท้ของตนเองโดยตรงแล้ว เราย่อมสามารถขจัดความเข้าใจผิดที่ส่งผลให้ประพฤติมิชอบจนนำความทุกข์มาสู่ตัวเอง เมื่อได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแล้ว เราย่อมสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า มีประโยชน์และมีความสุข
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพุทธปรัชญาเรื่องสติปัฏฐาน 4 เพื่อถ่ายทอดผลงานการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่เน้นสื่อถึงเนื้อหาทางหลักธรรมของพุทธศาสนา สาระสำคัญของผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยชุดนี้ เป็นการแสดงรูปลักษณ์ เกี่ยวกับการเจริญสติและสมาธิที่ส่ผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต ผลงานดังกล่าวได้ถ่าทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ รูปแบบ เนื้อหา แนวความคิด เพื่อถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์ "ดุลยภาพแห่งชีวิตกับการเจริญสติปัฏฐาน 4" ได้แก่ ผลงานภาพ "กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน" "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน" "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" และ "ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" โดยผลการวิเคราะห์จากชิ้นงานสร้างสรรค์ดังกล่าว ส่งผลต่อข้อสรุปที่เป็นประเด็นสาระสำคัญขององค์ความรู้ทั้งในด้านพุทธธรรม คุณค่าด้านความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ศึกษาหลักธรรมจากพุทธปรัชญา แสดงอัตลักษณ์ทางศิลปะของผู้วิจัย ด้วยรูปแบบผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย และด้านสุนทรียภาพ ผ่านความคิดที่มีเอกภาพ เป็นสุนทรียธาตุทางการแสดงออกด้วยรูปทรงแบบอุดมคติ จากความเป็นนามธรรมสู่รูปธรรมด้วยสุนทรียภาพเฉพาะตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
ทิพย์ธดา ณ นคร, พระมหาโสภณ วิจิตตธมโม., สติปัฏฐาน 4 กับการพัฒนาตนเองในชีวิตประจำวัน. วารสารพุทธจิตวิทยา ปีที่4 ฉบับที่1 (มกราคม-มิถุนายน 2562) หน้า 116-128., มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พศิน อินทรวงศ์. (2561). สมถะเท้าขวา วิปัสสนาเท้าซ้าย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ธรรมะ.
พุทธทาสภิกขุ. (2538). คำอธิบายปริศนาธรรมไทยชุดกายนคร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พุทธทาสภิกขุ. (2547). แก่นพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบรรลือธรรม.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2532). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระอาจารย์มิซูโอะ คเวสโก. (2550). ทุกขเวทนา. กรุงเทพมหานคร: วิริยะการพิมพ์.
วิลเลียม ฮาร์ทโก. (2554). ศิลปะการดำเนินชีวิต สอนโดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดี.
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน. (2552). สติปัฏฐาน 4. กรุงเทพมหานคร: บจก.ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2545). สมุดภาพปฤษณาธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป จำกัด.
ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง. (2012). ความหมายของคำว่า พระโยคาวจร. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563, จาก https://web.facebook.com/LoveMoralBuddha/posts142361505909667/?rdc=1&rdr