ลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชุติกาญจน์ อินทร์อนันต์
ทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์
สมโชค สินนุกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยทางกายภาพของอาคารหอศิลป์ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ภายในอาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ โดยนำผลวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและผลสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการมาผ่านกระบวนการวิธีการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ เพื่อประเมินหาประเภทของปัจจัยทางลักษณะกายภาพที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ภายในอาคารหอศิลป์ ทั้งนี้ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ โครงสร้าง วัสดุ โทนสี องค์ประกอบตกแต่ง รูปลักษณ์อาคาร ลักษณะการใช้งานอาคาร โดยทำการสำรวจกรณีศึกษาจำนวน 6 อาคาร แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดมากกว่า 10,000 ตารางเมตรจำนวน 2 อาคาร คือ อาคารหอศิลปวัฒนธรรมและอาคารหอศิลปไทยร่วมสมัย MOCA  อาคารขนาดใหญ่ ขนาดมากกว่า 2,000 ตารางเมตร จำนวน 2 อาคาร คือ อาคารหอศิลป์ศุภโชค ดิ อาร์ท เซ็นเตอร์และ อาคารศูนย์ประติมากรรม และอาคารหอศิลป์ขนาดทั่วไป จำนวน 2 อาคาร ขนาดน้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร  คือ อาคารหอศิลป์ Bangkok city gallery และอาคารหอศิลป์ Yenakart villa


            จากการศึกษาลักษณะกายภาพอาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯจำนวน 6 อาคารพบว่า มีปัจจัยทางลักษณะกายภาพ อาคารหอศิลป์ในเขตกรุงเทพฯ มีลักษณะกายภาพ 6 ปัจจัยครบในทุกอาคาร ซึ่งในส่วนของรายละเอียดแต่ละปัจจัยจะมีความเหมือนและแตกต่างกันตามแต่ละอาคาร และจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่อาคาร คือ ลักษณะการใช้งานของอาคาร  ส่วนปัจจัยอื่นพบว่าปรากฏอยู่ในทุกอาคารแต่ไม่ส่งผลต่อขนาดพื้นที่ของอาคารหอศิลป์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เสริซย์ โชติพานิช (2553) “การบริหารทรัพยากรกายภาพ หลักการทฤษฎี” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิติมา อมรทัต. (2530). “ความหมายของศิลปะ. กรุงเทพฯ:” โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2546). การเรียนรู้สหวิทยาการจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะ. BU ACADEMIC REVIEW. Vol. 2No.1: 109-119.

ศิริวัฒน์ แสนเสริม. (2549). บทความวิชาการ. “การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศิลปะและหอศิลป์ร่วมสมัยเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต.” สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/july_dec2006/Siriwat.pdf.

Blocker, H. G. & Jeffers, J. M. “Contextualizing aesthetics: from Plato to Lyotard.” Belmont, Calif: Wadsworth Pub, 1999.

Eilean Hooper-Greenhill. “Museums and the Interpretation of Visual Culture.” London: Routledge, 2000.

Gary Edson and David Dean. “The Handbook for Museums”. London: Routledge, 1996.

Kant, Immanuel. “ Groundwork of theMetaphysics of Morals”. Cambridge: Cambridge University Press, 2005.