ศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน กลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ศักยภาพการท่องเที่ยวและขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบททางการท่องเที่ยวของพุน้ำร้อนในกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา 2) เพื่อศึกษาศักยภาพและรูปแบบการบริหารจัดการพุน้ำร้อน 3) ศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อน 4)เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบกิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนในพื้นที่พุน้ำร้อน และ5) เพื่อขยายผลสู่ข้อเสนอแนะแผนแม่บทการพัฒนาแหล่งพุน้ำร้อนในระดับภูมิภาคภายใต้อัตลักษณ์อารยธรรมล้านนา 3 แห่ง คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พุน้ำร้อนโป่งปูเฟือง จังหวัดเชียงราย และพุน้ำร้อนเมืองแปง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อย กับกลุ่มเป้าหมายผู้มีสวนได้เสียจากการท่องเที่ยว ในแหล่งพุน้ำร้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงประเด็น (Content Analysys) เพื่อนำเสนอข้อมูลด้วยการบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า
- แหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนมีศักยภาพด้านกายภาพที่แตกต่างกัน กล่าวคือ มีอัตตราการไหลขอน้ำร้อนต่อวัน และอุณหภูมิ ที่สามารถรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อการอาบ แช่ได้ แต่ด้านศักยภาพทางการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก จุดสนใจทางการท่องเที่ยว และที่พัก ซึ่งพื้นที่ที่พบว่ามีศักยภาพครบ คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด
- รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในแหล่งพุน้ำร้อนควรอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยชุมชน เช่น พุน้ำร้อนดอยสะเก็ด และโป่งปูเฟือง แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
- จากศักยภาพของพุน้ำร้อนด้านปริมาตรน้ำ และกายภาพ พบว่าทั้ง 3 แห่งมีขีดความสามารถในการรองรับได้ทางการท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถ คือ พุน้ำร้อนดอยสะเก็ดรองรับได้ 1,800 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 3,330 คน พุน้ำร้อนโป่งปูเฟืองรองรับได้ 30 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 2,457 คน และพุน้ำร้อนเมืองแปงรองรับได้ 60 คน ในขณะที่การไหลของน้ำรองรับได้ 39,544 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยและสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับได้ของแต่ละพื้นที่
- ด้านกิจกรรมท่องเที่ยวในแต่ละแห่งจำเป็นต้องมี เน้นกิจกรรมเสริมตามบริบทแต่ละแหล่ง เช่นชมวิถีชีวิตชาวไทยลื้อที่ดอยสะเก็ด ชมสวนสมุนไพร และวิถีชนเผ่าที่โป่งปูเฟือง และเดินป่า ล่องแก่งที่เมืองแปง เป็นต้น
- ผลการศึกษาด้านแนวทางการพัฒนาแผนแม่บทเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำเป็นต้องเน้น 4 ประเด็นหลัก คือ 1)การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวภายใต้การมีส่นร่วมของชุมชน 2) การสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในพื้นที่ และสร้างความหลายหลายภายใต้ขีดความสามารถของทรัพยากรท่องเที่ยวในแต่ละแหล่ง 3) การจัดสร้างเขตการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จำเป็นต้องจัดทำภายใต้กรอบของพื้นที่ ความเปราะบางของพื้นที่ และ 4) การสร้างสิ่งก่อสร้างใด ๆ ในพื้นที่ จำเป็นต้องศึกษาด้านความเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิสถาปัตย์ อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชุมชน
จากผลการศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดจำกัดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยวของพุน้ำร้อนกลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา จะสามารถเป็นแหล่งตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนในด้านการท่องเที่ยว การจัดการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชน ขีดจำกัดการรองรับได้ของพื้นที่เชิงการท่องเที่ยว รวมทั้งการวางแผนด้านกายภาพและทัศนียภาพและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2562) พุน้ำร้อนในประเทศไทย ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=hotthai
เทศบาลตำบลเวียงสรวย (2562) โป่งปูเฟือง ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562) จาก http://www.wiangsuai.com/data/page01.php
นิพล เชื้อเมืองพาน และคณะฯ (2555) การพัฒนาศักยภาพแหล่งพุน้ำร้อนภาคตะวันตกของประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รายงานวิจัย 2555
ปทิตตา ตันติเวชกุล (2546). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. จุลสารการท่องเที่ยว. 22(1) มกราคม-มีนาคม: 30 - 41
ประชาคมอาเซียน (2563) การท่องเที่ยวกับประชาคมอาเซียน ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562 จาก http://www.thai-aec.com
พจนา สวนศรี (2546). คู่มือการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน, กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อ ชีวิตและธรรมชาติ.
วิกิพีเดีย (2562) การดำรงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2562 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
มหาวิทยาลัยสุโททัยธรรมธิราช (2552) เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรท่องเที่ยวของไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว (2556). แหล่งพุน้ำร้อนธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยว ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก http://61.19.236.142/hotspring/index.php
สำนักอุทยานแห่งชาติ. (2551). แนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2556, จาก www.dnp.go.th/parkreserve/nationalpark.asp?lg=1
อรรณพ หอมจันทร์ และคณะฯ (2555) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพุน้ำร้อนภาคตะะวันตกของประเทศไทย รายงานวิจัย 2555
อำเภอปาย (2562) อำเภอปาย ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม2562 จาก http://www.อําเภอปาย.com/nampuronpang.htm
BLT Bankok (2562) รายได้จากการท่องเที่ยว ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/ สืบค้นเมื่อ Cooper P., Cooper M. (2009) Health and Wellness Tourism Spas and Hot Springs. Britol: Channel View Publications.
Duffy, R (2006). The politics of ecotourism and developing world. Journal of Ecotourism, 5(1&2): 1-6.
Hall, C.M. (2000) Tourism Planning: Policies, Processes and Relationships. Harlow: Pearson.
Mowforth, M. and Munt, I. (2003) Tourism and Sustainability: Development and New Tourism in The Third World. London: Routledge. Thailand Development Research Institute (TDRI). (1997) Thailand Tourism: Vision 2012, 12(2): 14-24.