การพัฒนาหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำสำหรับประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ด้วยสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา COVID-19 ในทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทำให้ประชาชนมีการติดเชื้อไวรัสจำนวนเพิ่มขึ้นและมีผู้เสียชีวิตสะสมเป็นจำนวนมาก การใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์พบว่าประชาชนซื้อใช้เป็นจำนวนมากเมื่อใช้เสร็จทำให้กลายเป็นขยะอันตรายที่สร้างมลพิษทางน้ำ ทางดิน และขยะเหล่านี้ก็ใช้เวลาย่อยสลายนานอีกด้วย ผู้วิจัยจึงนำผ้าสะท้อนน้ำมาพัฒนาเป็นหน้ากากผ้าเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้เลือกใช้อีก 1 ช่องทาง ซึ่งคุณสมบัติของหน้ากากอนามัยจำเป็นต้องป้องกันสารคัดหลั่งได้เบื้องต้น ทางผู้วิจัยจึงได้นำนวัตกรรมซึ่งทำจากวัสดุที่มีในประเทศ ด้วยการใช้ผ้าที่เคลือบสารสะท้อนน้ำ และออกแบบหน้ากากรวมทั้งพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับประชาชน เพื่อใช้ทดแทนหรือใช้ควบคู่กันกับหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน จากแบบสำรวจรูปแบบของหน้ากาก ทั้ง 4 แบบ พบว่า ประชาชนที่ตอบแบบสำรวจชอบรูปทรงแบบเกาหลี 3 มิติมากที่สุด ซึ่งลักษณะของรูปแบบของหน้ากากนั้นเหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวัน สวมใส่สบาย กระชับเข้ากับใบหน้า และยังเป็นรูปแบบที่ทันสมัยอีกด้วย โดยราคาที่ผู้ตอบแบบสอบถามรับได้อยู่ในช่วง 30-50 บาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ธนิกา หุตะกมล, อรพรรณ โพชนุกูล และเพ็ญวิสาข์ พิสิฐฎศักดิ์. (2564). การพัฒนาหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำ ทดแทนหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. Burapha Arts Journal, 24(1), 41-52.
วรรณยศ บุญเพิ่ม. (2559). กระบวนการสร้างนวัตกรรมเชิงความหมายของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ (Doctoral dissertation, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย).
สวธรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐปรัตร์ และปภาอร กลิ่นศรีสุข. (2564). ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาดจังหวัดนครปฐมในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด19). Journal of Innovation and Management, 6(1), 37-50. ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เว็บไชด์ https://www.moicovid.com/11/10/2021/uncategorized/5170/ วันที่สืบค้น 11 ตุลาคม 2564
Shuai Guo, Yaoxin Zhang, Hao Qu, Meng Li, Songlin Zhang, Jiachen Yang, Xueping Zhang, and Swee Ching Tan (2022). Repurposing face mask waste to construct floating phototherma evaporator for autonomous solar ocean farming. EcoMat, 4(2), e12179.
Williams, J. T. (Ed.). (2017). Waterproof and water-repellent textiles and clothing. Woodhead Publishing.