การศึกษาผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชนพื้นที่ฝั่งตะวันออกจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

รัฐ ชมภูพาน
ณัฐพงษ์ ปัญญาธิคุณ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างอาชีพของชุมชนพื้นที่ฝั่งตะวันออก จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นและเสริมสร้างอาชีพของชุมชนพื้นที่ฝั่งตะวันออกจังหวัดปทุมธานี มีระเบียบวิจัยโดยการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตชุมชนพื้นที่ริมคลองรังสิต และภาคีเครือข่ายอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี คัดเลือกจากกลุ่มผู้ประกอบการก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตที่มีอายุในการประกอบกิจการประมาณ 30 ปีขึ้นไป ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน บุคคลสำคัญ และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการร้านก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา ประเด็นเกี่ยวกับ 1) การศึกษาประวัติศาสตร์ผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตตามบริบทและต้นทุนวัฒนธรรมของพื้นที่ ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลง ที่มีต่อพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของชุมชนรวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่สืบทอดมาถึงปัจจุบันที่มีต่ออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต 2) ความรู้และวัฒนธรรมอาหารผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต ที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพมีพื้นฐานจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นและต่อยอดสู่ความยั่งยืนทางอาชีพต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤช เหลือลมัย, 2561. ก๋วยเตี๋ยว “เลียง”?. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2561. (Online). www.silpa-mag.com.สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565

จันจิมา อังคพณิชกิจ และ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. 2558. ท้องถิ่นรังสิตในประวัติศาสตร์และความทรงจำจากเรือสู่รถกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง จำกัด.

เทศบาลนครรังสิต. 2562. ประวัติทุ่งรังสิต. (Online). http://www.rangsit.org/rsftmk/gohub_history.html สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565.

พุฒพิณณิน คำวชิระพิทักษ์. 2563. รูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนที่สอดคล้องกับการคงอยู่ของมรดกทางวัฒนธรรมในจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษา: เทศบาลนครรังสิต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ และเทศบาลเมืองท่าโขลง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 31 (2) : 34-49.

มะลิวรรณ ช่องงาม. 2562. ภาพลักษณ์ก๋วยเตี่ยวเรือในคลองรังสิตประยูรศักดิ์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลําปาง. 8 (1) : 201-208.

วรรณดี สุทธินรากร. 2556. การวิจัยเชิงคุณภาพการวิจัยในกระบวนทัศน์ทางเลือก. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด.

ศิลปวัฒนธรรม. 2563. ก๋วยเตี๋ยว” สร้างชาติ และทางออกวิกฤตเศรษฐกิจฉบับจอมพล ป. พิบูลสงคราม. (Online). www.silpa-mag.com/culture/article_26610. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565

สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539. ร้อยปีคลองรังสิต : โครงการวิจัยนำร่องเฉลิมฉลองวโรกาศกาญจนาภิเษก. กรุงเทพฯ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2562. (Online). http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565

สัมภาษณ์

นายขจรเกียรติ จินดาวรานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีสมร คงพันธ์ โรงเรียนการเรือนยิ่งเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมอาหาร สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์ศักดิ์ ทรงพระนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมอาหาร สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

นางสาวสุวารี อ่อนลา รักษาการผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ผู้แทนตำบลธัญบุรี สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

นางสาว ฉันท์สินี พิทยานุรักษ์ ผู้ประกอบการร้านโซ้ยโกว สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

นางสาวปรางค์จันทร์ แซ่เฮ้ง ผู้ประกอบการร้านแป๊ะจั๊ว สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

นายวีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย รองสภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีและผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564