การขึ้นทะเบียนโขน : ตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขึ้นทะเบียนโขน : ตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโขนซึ่งได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติจากองค์การสหประชาชาชาติ โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ บทความทางวิชาการ และสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การขึ้นทะเบียนโขนไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ สามารถแบ่งได้ 2 กระบวนการ คือ 1) การขึ้นทะเบียนโขนในประเทศไทย ด้วยการประกาศให้โขนขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นรายการแรกของสาขาศิลปะการแสดงของประเทศไทย 2) การขึ้นทะเบียนโขนไทยในระดับนานาชาติ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยท้ายที่สุด โขนไทยได้รับการขึ้นบัญชีรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ทั้งนี้ บทความนี้นำเสนอกระบวนการขึ้นทะเบียนโขนไทย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ สืบทอดและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านศิลปะการแสดงของไทย เพื่อให้ศิลปะไทยอย่างโขน สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาที่งดงาม ให้คงอยู่กับสังคมไทยในยุคปัจจุบันอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมศิลปากร. (2552). โขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย. นครปฐม : รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2552) โขน มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). ศิลปะการแสดง : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
ณัฐชัย ณ ลำปาง. (2558). วิจัยเรื่อง การคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 : กรณีศึกษาของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคี. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). โขนภาคต้นและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2500). โขน พิมพ์ในงานพระราทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองเจ้าเฉลิมเขตรมงคล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 16 มิถุนายน 2500. หน้า 43
นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ. (2542) โขน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ, วิวัฒนาการเรื่องแต่งกายโขน – ละคร สมัยรัตนโกสินทร์
รศ.ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ. (2562) “อนาคตโขนไทย.” ในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและเสวนานานาชาติ เรื่องโขน: คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ. วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. “ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย”. https://www.sac.or.th/databases/archaeology/terminology/ปราสาทขอมในประเทศไทย-0 , โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “ปราสาทขอมในประเทศไทย.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 30. (ออนไลน์), 2548. เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2558.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2466) ประวัติการฟ้อนรำ. ในการละครไทย อ้างถึงใน หนังสืออ่านประกอบคำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทยตอนดนตรีและนาฏศิลป์ไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระนคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฎยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2477. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
สุรัตน์ จงดา. (2562). การพัฒนาเครื่องโขนในรัชกาลที่ 9. ในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและเสวนานานาชาติ เรื่องโขน: คุณค่าและความสำคัญในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติ. วันที่ 29 – 30 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
The Associated Press. (2014). World's oldest masks displayed in Israel. CBCnews, https://www.cbc.ca/news/world/world-s-oldest-masks-displayed-in-israel-1.2568316 (สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562) (accessed Mar 11, 2014)
UNESCO, (2003). The Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Norwegian Ministry of Foreign Affairs.