การศึกษาฮูปแต้มอีสานกลาง เพื่อการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน ชุด พระเวสสันดรชาดก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของของฮูปแต้มพื้นบ้านดั้งเดิม เรื่องพระเวสสันดรชาดก ในเขตอีสานกลางที่สร้างโดยช่างพื้นบ้านก่อน พ.ศ. 2500 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ จากกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานฮูปแต้มอีสาน นำมาสู่การวิเคราะห์ ค้นหาคุณลักษณะที่สามารถนำไปสู่แนวคิดในการบูรณาการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน เรื่อง พระเวสสันดรชาดก โดยใช้แนวคิด กรรมวิธี สื่อและวัสดุปัจจุบัน รวมถึงสร้างองค์ความรู้และแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในเชิงสร้างสรรค์แก่ผู้ที่สนใจ
ผลการวิจัยพบว่า
ด้านองค์ประกอบมูลฐานทางศิลปะจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของฮูปแต้ม พบว่าฮูปแต้มเรื่อง พระเวสสันดรชาดกในกลุ่มกรณีศึกษา มีรูปแบบที่แสดงออกด้วยคุณลักษณะที่เรียบง่าย อิสระไม่มีระเบียบแบบแผนตายตัวหรือไม่มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์และไม่ซับซ้อน อันเป็นคุณสมบัติ เอกลักษณ์ของศิลปะพื้นบ้าน
ด้านพัฒนาการทางรูปแบบและองค์ประกอบพบว่ามีการจัดวางองค์ประกอบภาพคล้ายการเล่านิทานที่ยึดเอาตัวละครหลักเป็นศูนย์กลาง มีการสอดแทรกการใช้ภาพวิถีชีวิตชาวบ้านร่วมประกอบเสริมภาพให้เกิดความสมบูรณ์
ด้านการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยอีสาน เรื่อง พระเวสสันดรชาดก พบว่า การทดลองสร้างสรรค์โดยการบูรณาการจากรูปแบบพื้นบ้านดั้งเดิมสามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดมิติทางพัฒนาการในหลาย ๆ ด้านและสามารถนำไปสู้การสร้างสรรค์ผลงานฮูปแต้มร่วมสมัยได้อย่างมีหลักการ
ด้านการสร้างองค์ความรู้และแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่าการทดลองสร้างสรรค์ตามแบบอย่างพื้นบ้านอีสานในบื้องต้น จะสามารถพัฒนารูปแบผลงานได้ทั้งในเชิงอนุรักษณ์ และพัฒนาตามแนวคิดก้าวหน้าได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
จุฬาทิพย์ อินทราไสย. (2548). ฮูปแต้มสิมเขตอีสานกลาง. รายงานวิชาส่วนบุคคลสาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลูด นิ่มเสมอ (2557). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นรินทร์ ยืนทน. (2562). จิตรกรรมฝาผนังเวสสันดรชาดกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนัส จอมปรุ, (2562) ฮูปแต้มอีสาน : การวิเคราะห์รูปและความหมายจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การตกแต่งพื้นที่ฝาผนังสิมร่วมสมัยอีสาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด. ขอนแก่น: รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญผะเหวด. พิธีกรรมแบบอีสานและมงคลแห่ง “น้ำ” ในที่ราบสูงโคราช ณ วัดบ้านลาน ขอนแก่น. วันที่สืบค้นข้อมูล 5 กุมภาพันธ์ 2564 เข้าถึงได้ใน https://www.isaninsight.com
ปิยนัส สุดี. (2557). ฮูปแต้ม: ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในเขตอีสานตอนกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน E-Sarn mural paintings. ขอนแก่น:ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2534). วิวัฒนาการทัศนศิลป์สมัยใหม่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ. (2559). จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถแบบดั้งเดิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สารานุกรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมาลี เอกชลนิยม. (2548). ฮูปแต้มอีสาน งานศิลป์สองฝั่งโขง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ.
ThaiPBS. ประเพณีบุญผะเหวด(พระเวส) ตามความเชื่อเรื่องความเป็นสิริมงคลและเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวอีสาน วันที่สืบค้นข้อมูล 11 สิงหาคม 2564 (https://www.youtube.com/watch?v=TRuzu3_eO1w)