การวิเคราะห์กระบวนการสร้างผลงานศิลปะบำบัดผ่านการถอดรหัสผลงานศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์กระบวนการทำงานของศิลปินที่ใช้ศิลปะเป็นตัวแทนทางจิตวิทยาการรับรู้ ระหว่างการรับรู้ทางจิตวิทยาและความงามสู่กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะบำบัด ผู้วิจัยทำการศึกษาวิเคราะห์ที่มาของศิลปกรรม ในการวิจัยมีการวิเคราะห์ศิลปินที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ในด้านลบ มาสู่การสร้างผลงานทางศิลปะ ผู้วิจัยศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์พื้นหลังของศิลปินสู่การสร้างผลงานโดยได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ลักษณะผลงานสร้างสรรค์ที่ศิลปินแสดงออกผ่านผลงานโดยการรหัสการรับรู้ระหว่างผู้ชมผลงานศิลปะและตัวศิลปินผู้สร้างกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะบำบัด ซึ่งมีความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับการรับรู้ทางจิตใต้สำนึกซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกิด เพื่อเกิดก่อให้การสังเคราะห์นำไปสู่การใช้ศิลปะบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพจิตใจให้ดี ซึ่งในเบื้องต้นที่ผู้วิจัยสนใจคำว่ามานุษยวิทยา (Anthropology) ซึ่งหมายถึงศาสตร์ที่ศึกษามนุษย์ แต่เนื่องจากมนุษย์มีหลายมิติ ศาสตร์ของมานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ที่มีลักษณะเปิดกว้าง หากมองจากปรัชญาแรกเริ่มของมานุษยวิทยาก็จะพบว่า มานุษยวิทยาต้องการทำความเข้าใจวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ยังมีลมหายใจและที่เคยอยู่บนโลกนี้ การศึกษาวิเคราะห์ศาสตร์ทางด้านจิตวิยาการรับรู้เพื่อให้เข้าใจความเป็นมนุษย์ และผู้วิจัยคัดเลือกวิเคราะห์ศึกษาแนวคิดจากศิลปินทั้ง 7 ท่าน ที่ทำงานศิลปะบำบัดผ่านกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความหลากหลาย ได้แก่วินเซนต์ แวนโก๊ะ, มาร์ค รอธโก, มารีนา อบราโมวิช, โจเซฟ โคซุธ, แอร์วิน วูร์ม, คามิน เลิศชัยประเสริฐ, อารยา ราษฎร์จำเริญสุข โดยกระบวนการวิเคราะห์ลักษณะผลงานสร้างสรรค์ศิลปะบำบัดและมีการใช้จิตวิทยาในการถ่ายทอดผลงานที่ศิลปินแสดงออกผ่านผลงานโดยผ่านการสร้างรหัสการรับรู้ระหว่างผู้ชมผลงานศิลปะและตัวศิลปินผู้สร้างผลงาน ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจ จากการใช้ศิลปะในรูปแบบที่ต่างกันในการสร้างกระบวนการวิธีการบำบัดในลักษณะวิธีการที่เฉพาะของศิลปินซึ่งล้วนแต่ก่อเกิดการพบคุณค่าของมนุษย์ในเชิงของการใช้ศิลปะการสังเคราะห์ พิเคราะห์ตระหนักรู้จากความรู้สึกและประสบการณ์ที่ผ่านมา หันกลับไปมองส่วนที่ผ่านมาในฐานะคนที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ เคยร่วมในประสบการณ์นั้นอย่างไร ซึ่งสิ่งที่ผู้วิจัยได้หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลแนวคิดและรูปแบบผลงาน จะนำไปสู่การสังเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะบำบัดและนำไปสู่การพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์อันประเสริฐและบำบัดเยียวยา จิตในระดับลึกด้านในของตนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กำจร สุนทรพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2554). สีและปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องในศิลปะบำบัดที่มีอิทธิพลต่อการลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยพร วิชชาวุธ. (2518). ความจำมนุษย์ : Human Memory. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. (2544). ศิลป์: ยิน ยล สัมผัส. กรุงเทพฯ: ฟอร์แมท แอสโซซิเอทส์.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
รัจนี นพเกตุ. (2539). การรับรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
รัจนี นพเกตุ. (2540). จิตวิทยาเพื่อการรับรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
เลิศศิริร์ บวรกิตติ, เทพศักดิ์ ทองนพคุณ, วรรณะ อูนากูล, Longo JA, Garcia B, Tupper H. (2548).ศิลปกรรมบำบัด: ความสังเขป. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 14 (6): 1051-1054.
ไสว เลี่ยมแก้ว. (2527). ความจำมนุษย์ : ทฤษฎีและวิธีสอน. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไสว เลี่ยมแก้ว.(2527). จิตวิทยาความจำ : ทฤษฎีและวิธีสอน. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย, เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2549). ศิลปกรรมบำบัด. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 6: 243-7.
อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย, เลิศศิริร์ บวรกิตติ. (2549). ศิลปกรรมบำบัด. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 6: 243-7. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, บรรณาธิการ. (2544). ศิลป์: ยิน ยล สัมผัส. กรุงเทพฯ: ฟอร์แมท แอสโซซิเอทส์.
Edwards D. (2004). Art therapy. London: SAGE publications.
Malchiodi CA. (1999). Medical art therapy with children. London: Jessica Kingsley.
Rosal M. (1995). Art therapy with children. Abbeygate Press: Isle of Palms, SC.