จิตรกรรมร่วมสมัย : ภายใต้กุศโลบายเมืองนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มนัสชัย รัตนบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเรียบเรียงมุขปาฐะชุมชน ประเพณีสารทเดือนสิบ กุศโลบายชาวบ้านเรื่องโจ และเรื่องชุมชนร่วมสมัยของชุมชนบ้านขุนน้ำ ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปใช้เป็นเนื้อหาในการสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ในชุมชน 2) วิเคราะห์ศิลปกรรมวิหารพระทรงม้าในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช จากสาระสำคัญเชิงโครงสร้างและสัญลักษณ์ทางศิลปกรรม และ 3) สร้างสรรค์ผลงานผ่านกระบวนการคิดที่เหนือจริงทางทัศนศิลป์ร่วมสมัย ในการสนับสนุนกุศโลบาย ผ่านเนื้อหาและสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จากเนื้อหาเรื่องเล่ามุขปาฐะชุมชน ความเชื่อกุศโลบายชาวบ้าน และเรื่องราวของชุมชนในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพ และการเขียนภาพร่าง มีขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลการสัมภาษณ์ 2) จัดระเบียบข้อมูลจากภาพถ่าย และ 3) ออกแบบภาพร่าง เพื่อคัดเลือกภาพร่างที่มีเนื้อหาและแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านขุนน้ำมีเนื้อหาจากเรื่องเล่าผ่านความเชื่อและความศรัทธา เทียบเคียงได้กับศิลปกรรมวิหารพระทรงม้าในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีการวางสัญลักษณ์ตามโครงสร้างหน้าที่นิยมและวางองค์ประกอบศิลป์แบบไตรภูมิ การศึกษาในครั้งนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกุศโลบายในชุมชน ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมและเผยแพร่ผลงานผ่านการจัดนิทรรศการศิลปะ “ชุดภายใต้กุศโลบายเมืองนครศรีธรรมราช” โดยผลงานจิตรกรรมทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสนับสนุนกุศโลบายอันดีงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2552, สิงหาคม 8). แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนครจากหน้าพระลานถึงห้วยเขามหาชัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/418/1/แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองนคร%20จากหน้าพระลานถึงห้วยเขามหาชัย.pdf [2562, ธันวาคม 25].

ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. (2559, ธันวาคม 12). ประติมากรรมโดดเด่นในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร(ตอนที่ 3). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://phramahathat-heritage.com/2016/12/12/ประติมากรรมโดดเด่นในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร-ตอนที่-3/ [2562, ธันวาคม 30].

ชลูด นิ่มเสมอ. (2557). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

นงคราญ สุขสม. (2554). รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่3. นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ไทม์พริ้นติ้ง.

ปรีชา นุ่นสุข. (2540). ประเพณีสารทเดือนสิบ. กรุงเทพฯ: ครุสภาลาดพร้าว.

พระไพโรจน์ อตุโล. (2556, สิงหาคม 30). ความเชื่อเรื่องโจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://prapirod.blogspot.com/2013/08/blog-post.html [2562, ธันวาคม 25].

วุฒิ วัฒนสิน. (2552). ประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: สิปประภา.

ศิราพร ณ ถลาง. (2557). ทฤษฎีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุคลานุกรม

พระครูเหมเจติยาภิบาล (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสชัย รัตนบุรี (ผู้สัมภาษณ์). ณ วัดพระนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564.

มิตร เชาวนะธรรม , พัน เชาวนะธรรม (ผู้ให้สัมภาษณ์). มนัสชัย รัตนบุรี (ผู้สัมภาษณ์). ณ 46/2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562.

หีด สะพานทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์) มนัสชัย รัตนบุรี (ผู้สัมภาษณ์). ณ 108 หมู่ 5 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562.

หนูรัตน์ รัตนบุรี (ผู้ให้สัมภาษณ์) มนัสชัย รัตนบุรี (ผู้สัมภาษณ์). ณ 112/6 หมู่ 5 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562.