โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการของสาขาศิลปศึกษา

Main Article Content

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ
กฤษฎิ์ ตุลวรรธนะ

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอกระบวนการดำเนินงานโครงการต่อยอดจากชุดโครงการ “ค่ายศิลปศึกษาสู่ชุมชน”เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปะให้กับเยาวชนเพื่อต่อยอดเส้นทางงานประกวดและส่งเสริมอาชีพ ณ โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าตะเภา) จังหวัดชุมพร (พ.ศ. 2563) เป็นโครงการพัฒนานักศึกษาของสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการลงพื้นที่พัฒนาชุมชนนอกสถานที่ “ค่ายศิลปะ” ต่อมาปี พ.ศ. 2565 นี้ ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นอีกครั้ง ณ จังหวัดดังกล่าว แต่ได้เปลี่ยนจากชุมชนเป็นโรงเรียนอุดมวิทยากร อ. หลังสวน จ. ชุมพร เพื่อส่งเสริมนักศึกษา สาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรรุ่นต่อมา ภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งและสำนึกรักท้องถิ่นเชิงศิลปวัฒนธรรมของชุมชนเมืองหลังสวน จ. ชุมพร ด้วยความร่วมมือเชิงวิชาการของสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการศึกษา เรียนรู้ ความต้องการของชุมชนและการเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติงานจากการจัดกิจกรรมค่ายศิลปะที่ผ่านมาเป็นค่ายศิลปะปีที่ 2 นับว่า เป็นการพัฒนาต่อยอดขึ้นจากปีที่ 1 ใช้กระบวนการวิเคราะห์ การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนด้วยแนวคิด PDCA ของ วิลเลียม เอ็ดเวิร์ดส์ เดมิง (William Edwards Deming) และแนวคิดการจัดการเรียนรู้ชุมชนอย่างเป็นระบบ ผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยนักเรียนโรงเรียนอุดมวิทยากร ครูและคณะผู้บริหารโรงเรียนอุดมวิทยากร, กลุ่มนักปราชญ์ชุมชน, กลุ่มคณะผู้ปกครองเมือง อำเภอหลังสวนและประชาชนทั่วไปจำนวน 50 คน มีความพึงพอใจตลอดการจัดกิจกรรม 3 คืน 4 วัน สรุปค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 86.6 อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมาจากความสำเร็จตามชื่อโครงการ คนในชุมชนมีความภูมิใจสำนึกรักบ้านเกิด ได้ข้อมูลของดีในแต่ละชุมชนโดยทีมนักศึกษาและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปจัดทำสื่อให้สิ่งที่ได้รับ คือ คนในชุมชนพร้อมใจในการให้ข้อมูลอย่างภาคภูมิใจและต้องการเชิญชวนคนมาเที่ยว สิ่งที่สำคัญที่ คือ การประสานความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคประชาชน ครบตามองค์ประกอบสำคัญยิ่งของชุมชนนั่น คือ “บวร” ได้อย่างเข้มแข็งและภาคภูมิใจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2537). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สายส่งศึกษิต เคล็ดไทย.

วีระพล บดีรัฐ. (2543). PDCA วงจรสู่ความสำเร็จ. จุลสาร : ประชาชน กรุงเทพฯ.

ประวัติโรงเรียนอุดมวิทยากร. (2553). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูล 8 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://udomwittayakorn.ac.th/datashow_47055

ประเวศ วะสี. (31 กรกฏาคม 2555). จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย. โพสต์ทูเดย์. 2.

วิกิพีเดีย. (2565). อำเภอหลังสวน. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูล10 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://th.wikipedia.

อำเภอหลังสวน

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการใช้คำถามของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการชี้แนะและเป็นพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 9(26), 111-120.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การสืบทอดและอนุรักษ์พิธีกรรมโนราโรงครูคณะเทพชัย โสภณศิลป์และคณะ

จำเริญ ศ.พนมศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2557). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 82-103.

Crompton, J. L. (1979). An assessment of the image of Mexico as a vacation destination and the influence of geographical location upon that image. Journal of Travel Research, 17(4), 18-23.

Pearce, P. L. (2005). Tourist behavior: Themes and conceptual schemes. Channel View Publications.

Swarbrooke, J. (1999). Tourism motivation and travel-related incentives. In J. Swarbrooke (Ed.), The Development and Management of Visitor Attractions (pp. 52-71). Butterworth-Heinemann