การพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ สำหรับงานสร้างสรรค์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย

Main Article Content

ขวัญชัย บุญสม
ศิวรี อรัญนารถ

บทคัดย่อ

จากกระแสความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและการบริโภคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสิ่งทอทางเลือกจากเส้นใยธรรมชาติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่กล่าวได้ว่ายังมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในบริบทของการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องนวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยใช้กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประเมินผลการพัฒนาสิ่งทอกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย
ผลจากการศึกษาพบว่าในกระบวนการทดลองทอเส้นใยเฮมพ์แบบหัตถกรรมทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่นด้วยกี่ทอมือแบบ แบบ 2 ตะกอ แบบลายขัดมาตรฐาน และ 4 ตะกอ แบบลายทอมาตรฐาน จะได้สิ่งทอที่มีลักษณะที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยการใช้วิธีการทอแบบเส้นยืนด้วยฝ้ายปั่นเกลียวอุตสาหกรรม เส้นพุ่งด้วยเฮมพ์ต้มสุก และการทอแบบเส้นยืนเฮมพ์ต้มสุก เส้นพุ่งด้วยเส้นไหมหลืบ มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายมากที่สุด ทั้งนี้แนวทางของอัตราส่วนของเส้นใยชนิดอื่นที่ทอร่วม ส่งผลให้มีผ้ามีน้ำหนัก ความหนาบางที่เหมาะแก่การทำเครื่องแต่งกายที่มีโครงสร้างอยู่ทรง มีความแข็งแรง และคงทนมากขึ้น ในด้านสีเป็นสัจจะวัสดุ คือ สีธรรมชาติของตัววัตถุดิบที่เกิดจากการผสมเส้นใยชนิดอื่นทำให้เกิดลวดลายขึ้น โดยลดขั้นตอนการฟอกย้อม ลดการใช้น้ำลงจากกระบวนการย้อมสี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. ม.ป.ป. ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.dip.go.th/files/Cluster/7.pdf

ประภัสสร ทิพย์รัตน์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. 2562. “พืชกัญชา: ความรู้ทั่วไป และการตรวจสอบสารสําคัญ”. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.oncb.go.th/ncsmi/ cannabis4/.pdf.

ผู้จัดการออนไลน์. 2560. TCDC เผย “เส้นใยกัญชง” ขึ้นแท่นวัตถุดิบสิ่งทอสร้างสรรค์ ปี 17 อนาคตแฟชั่นไทย. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://mgronline.com/smes/detail/9600000016286

ผู้จัดการออนไลน์. 2564. WGSN เผย 13 เทรนด์แรงปี 65 “แท็กซี่บินได้-อวตาร์คอมเมิร์ซ”. สืบค้น 21 ธันวาคม 2564. จาก https:// mgronline.com/business/detail/9640000125834

มนทิรา สุขเจริญ และ พันธวัศ สัมพันธ์พานิช. 2562. จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์ หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 3)

รุ่งทิพย์. 2559. บทความ: “เฮมพ์” นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงและยั่งยืน. วารสารสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2566. จาก https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/251

ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2563. รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพัฒนาการจัดการ เฮมพ์ (กัญชง) ในพื้นที่ต้นแบบภาคเหนือตอนบน ภายใต้กฎกระทรวง. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://nctc.oncb.go.th/manage/researchMgt/import/researchFull/20201223_084522Hamp.pdf

สุรัติวดี ภาคอุทัย และกนกวรรณ ศรีงาม. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์, การศึกษาวิจัย และพัฒนา Test kit เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในกัญชง, ภายใต้ชุดโครงการ : โครงการพัฒนากัญชงเชิงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เชียงใหม่. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก http://mis.agri.cmu.ac.th/ download/research/0-003-B-51_file.doc.

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). 2564. สินิตย์ ดัน “เส้นใยกัญชง” เป็นวัตถุดิบผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมไทย. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.sacit.or.th/th/detail/ 2022-07-18-11-31-05

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. เส้นใยธรรมชาติเพื่อการพัฒนาสิ่งทอ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2565. จาก https://www.sacit.or.th/uploads/items attachmentsfb3f76858cb38e5b 7fd113e0bc1c0721/_1e9bd3aebc9745ffeaa7e9a6bf46f1aa.pdf

อิสเรศ วงศ์เสถียรโสภณ. 2564. แนวโน้มความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อรูป แบบแฟชั่น ไทย. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.2426.1.0.html