ด้วยรักและรำลึกถึง : ศิลปะเชิงกระบวนการว่าด้วยการเผชิญความอาลัย

Main Article Content

ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์
มาริสา พันธรักษ์ราชเดช
นันทวัน ศิริทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นเอกสารบันทึกกระบวนการศิลปะ ซึ่งตีแผ่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยกระบวนการที่กำหนด เพื่อทำความเข้าใจว่าการลงมือทำงานศิลปะจะช่วยจัดการกับความรู้สึกอาลัยได้อย่างไร วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเปรียบเทียบระหว่างการเขียนภาพตามลำพังในที่พัก การเขียนภาพตามลำพังในที่สาธารณะ และการเขียนภาพร่วมกับผู้อื่นในที่สาธารณะ และมีการทวนสอบโดยที่ปรึกษา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการที่ใช้โปรเจคเตอร์ฉายภาพลงบนฉากแล้วเขียนภาพโดยการลอกลายน่าจะมีส่วนช่วยให้เผชิญกับความอาลัยได้ง่ายขึ้น โดยทำให้ผู้สูญเสียได้เห็นรายละเอียดของรอยยิ้มผู้ล่วงลับจากภาพถ่ายที่ตนเองเป็นผู้เลือกมา ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นความทรงจำเชิงบวกที่มีต่อผู้ล่วงลับ ทำให้ผู้สูญเสียตระหนักถึงช่วงเวลาที่ผู้ล่วงลับเคยมีความสุข และทำให้เกิด “รอยยิ้มทั้งน้ำตา” ขณะที่การได้ร่วมกันเขียนภาพและจัดแสดงงานในที่สาธารณะน่าจะเป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ชุมชนช่วยยืนยันว่าสายสัมพันธ์ที่ผู้สูญเสียเคยมีกับผู้ล่วงลับนั้นได้เกิดขึ้นจริง และยังดำรงอยู่ต่อไป ผู้สูญเสียและผู้ล่วงลับยังเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันแม้ชีวิตของฝ่ายหนึ่งจะสิ้นสุดไปแล้ว ผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในความอาลัยจึงได้รับตัวตนที่หายไปคืนกลับมา และความอาลัยจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อที่ว่างถูกเติมเต็มแล้ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คิคุตะ มาริโกะ แปลโดย พรอนงค์ – มารินา (2545). พบกันวันคิดถึง (See You Anytime I Want). กรุงเทพมหานคร: บริษัท คัมปาย อิมเมจจิ้ง จำกัด.

ชัยรัตน์ พลมุข (2563). ภาพถ่ายคืออีกนามหนึ่งของมารดา : โรล็องด์ บาร์ตส์ / อารยา ราษฎร์จำเริญสุข. The Momentum. Retrieved 31 May 2022, from https://today.line.me/th/v2/article/OgZEGy

ปรีชา เถาทอง (2014). แนวทางการวิจัยและพัฒนาองค์คามรู้ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะวิชาการ. Journal Of The Association Of Researchers, 19(2), 5-11.

วิโชค มุกดามณี (2558). Retrieved 31 May 2022, from https://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=5989:2015-02-03-02-38-04&catid=22&Itemid=217&option=com_content&view=article&id=5989:2015-02-03-02-38-04&catid=22&Itemid=217

สุชาติ เถาทอง. (2556). สหวิทยาการ: การวิเคราะห์หาความเชื่อมโยงแบบบูรณาการทางศิลปะ. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารยา ราษฎร์จำเริญสุข (2561). ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน [นิทรรศการศิลปะจัดวาง] กรุงเทพมหานคร: 100 ต้นสน แกลลอรี่.

Adams, L. (2011). A history of Western art. New York: McGraw-Hill.

APA Dictionary of Psychology. (2022). Retrieved 31 May 2022, from https://dictionary.apa.org/grief

Baler, P. (2013). The next thing. Lanham, MD: Fairleigh Dickinson University Press.

Bell, B. (2016). Taken from life: The unsettling art of death photography. Retrieved 31 May 2022, from https://www.bbc.com/news/uk-england-36389581

Butler, J. (2014). Speaking of Rage and Grief. Retrieved 31 May 2022, from https://www.youtube.com/watch?v=ZxyabzopQi8

Danto, Arthur, C. (2013). What Art Is. Yale University Press; 1st edition, USA

Firstenberg, S. B. (2020): In America: How Could This Happen…[Installation].

Firstenberg, S. B. (2021): In America: Remember…[Installation].

Géricault, T. (1818-1819). The Raft of Medusa [Oil on Canvas]. Paris: Louvre.

Harris, J. (2003). La Vie. Archives Of General Psychiatry, 60(10), 968. doi: 10.1001/archpsyc.60.10.968

Hutchinson, R. (2016). A grieving process illustrated?. Medical Humanities, 44(1), 2-4. doi: 10.1136/medhum-2016-010874

Jacques-Louis David. (1793). The Death of Marat [Oil on Canvas]. Brussels: Royal Museums of Fine Arts of Belgium.

Kahlo, F. (1932). Untitled [Lithograph]. San Francisco: Fine Arts Museum of San Francisco.

Kübler-Ross, E. (1972). On Death and Dying. Journal for the Scientific Study of Religion, 11, 309.

Monet, C. (1879). Camille Monet on Her Deathbed [Oil on Canvas]. Paris: Musee d'Orsay.

Picasso, P. (1901). Death of Casagemas [Oil on Canvas]. Paris: Musée Picasso.

Rogers, L. (2015). "Abortion," "Miscarriage," or "Untitled"? A Frida Kahlo Lithograph's Complicated History. Retrieved 31 May 2022, from https://hyperallergic.com/202802/abortion-miscarriage-or-untitled-a-frida-kahlo-lithographs-complicated-history/

Roseveare, H. (2021). Our Top 10 Death and Bereavement Inspired Art - Neo Cremations. Retrieved 31 May 2022, from https://neocremations.co.uk/our-top-10-death-and-bereavement-inspired-art/

Tate. (2022). Retrieved 31 May 2022, from https://www.tate.org.uk/art/art-terms/p/process-art

Wixom, D. (2012). Cultural Expressions of Grief Through Art (Undergraduate Thesis). Washington State University.