จิตรกรรมไร้สำนึกภาพสะท้อนสัญชาตญาณเพศซ่อนเร้น

Main Article Content

ชนิสรา วรโยธา
สมพร ธุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาความคิดเด็กวัยรุ่นหญิงทางด้านความต้องการทางเพศภายใต้หลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 2)เพื่อตีความสัญลักษณ์สะท้อนพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเพศที่ซ่อนเร้นในจิตไร้สำนึก รูปแบบผลงานจิตรกรรม 3)เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศในเด็กวัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-15 ปี
ศึกษาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ และวารสารวัดผลการศึกษาเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อจำแนกระดับของจิตใจที่เป็นมูลเหตุอันสำคัญก่อให้เกิดความคิดนำพาไปสู่พฤติกรรมทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้น อายุระหว่าง 10-15 ปี ใช้การแทนค่าเชิงสัญลักษณ์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยการศึกษาและวิเคราะห์นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 ชุด คือ งานทดลองชุดที่ 1 งานทดลองชุดที่ 2 และชุดที่ 3 เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิง
ผลการวิจัยพบว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมที่เต็มไปด้วยค่านิยมทางสื่อ วัตถุ และการแข่งขัน เด็กวัยรุ่นหญิงมีความชอบเสี่ยงทางเพศและความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถพบได้ในวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12-14 ปี สอดคล้องกับงานวิจัยของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องสัญชาตญาณ (Instinct) ลักษณะเอาแต่ได้ตามความพึงพอใจของตนเอง ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบผลงานจิตรกรรมด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่แทนค่าสื่อความหมายของเพศที่ซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจมีลักษณะเป็นภาพสัญญะของความใคร่รักและจินตนาการต่อตนเองให้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วย รูปร่าง รูปทรง และสี ตัดทอนจากใบหน้าและร่างกายเด็กวัยรุ่นหญิง ประกอบกันขึ้นมาเพื่อสร้างรูปทรงใหม่จากการทับซ้อนกันของรูปทรงแบบโปร่งใสเป็นมิติของภาพที่มากกว่าหนึ่งลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง เกิดการรับรู้และเข้าใจแก่ผู้ชมถึงเนื้อหาอารมณ์ความสับสน จินตนาการ และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสร้างประสบการณ์การรับรู้ของธรรมชาติทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในสังคม โดยแสดงออกในรูปแบบผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2554). ศิลปะสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สดชื่น ชัยประสาธน์. (2539). จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์. กรุงเพทฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ศุกร์ใจ เจริญสุข, ฉวีวรรณ สัตยธรรม และแผ จันทร์สุข. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, ปิยะพร กองเงิน และสารารัตน์ วุฒิอาภา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสาร สาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(9-12), 292-293.

อินทรียา อัญพัชร์ และดวงเดือน ศาสตร์ภัทร. (2563). ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย. วารสาร การวัดผลการศึกษา คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนหลุยส์, 101(1-6), 35-41.

ณัฐยา ศรีทะแก้ว, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, วิไลวรรณ์ ปะธิเก และทรงวุฒิ ภัทรไชยกร. (2564). รูปแบบการสอนเพศศึกษาสำหรับเด็กวัยรุ่นไทยและผลลัพธ์การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สรรพสิทธิประสงค์, 3(9-12) 38-40.

สุริยะ ฉายะเจริญ. (2557). กรณีศึกษาผลงานสร้างสรรค์จากการสันนิษฐานรูปลักษณ์โบราณสถาน. ฉบับที่ 13. สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2566, จาก http://www.jumpsuri.blogspot.com/2014/04/blog-post.html

สำนักพิมพ์หกเหลี่ยม. (2562). ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์: โครงสร้างของจิต. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.sixfacetspress.net/content/4849/ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์-ฟรอยด์-บิดาแห่งจิตวิเคราะห์

ออนไลน์. (2565). Erotic. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2566, จาก https://www.Erotic.com/?client=safari

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, p.370-396. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก http://www.yorku.ca/dept/psych/classics/author.htm

ออนไลน์. (2566). Joan Semmel. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก https://www.alexandergray.com/artists/joan-semmel

ออนไลน์. (2566). Giuseppe Arcimboldo. สืบค้นวันที่ 11 มกราคม 2566, จาก https://www.wikipedia.org

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566) ถ่ายภาพ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ และโปรเจคเตอร์ สืบค้นวันที่ 9 พฤษภาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก