การสร้างสรรค์สารคดีสั้นเพื่อส่งเสริม สืบสานและการดำรงอยู่ของอุปรากรจีนยูนนาน “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งใด”

Main Article Content

Yuntao Su
ภูวษา เรืองชีวิน
บุญชู บุญลิขิตศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ยึดการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ใช้การสืบสานของศิลปะอุปรากรยูนนานดั้งเดิมและการวิจัยเป็นหลักฐานอ้างอิงทางทฤษฎี วิเคราะห์บทบาทในการอนุรักษ์และสืบสานของอุปรากรยูนนานจากภาพบันทึก อีกทั้งดำเนินการวิเคราะห์และเสนอแผนในการแก้ไขต่อปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการถ่ายบันทึกข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะถูกใช้กับภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่องหนึ่ง เนื้อหาหลัก ๆ จะแสดงออกมาผ่านทางการสัมภาษณ์ผู้ที่ยืนหยัดในการสืบสานอุปรากรยูนนานจำนวนหนึ่งและผ่านทางวิธีการ “เล่าเรื่อง” ชื่อของภาพยนตร์สารคดีนี้คือ “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด”
ผลลัพธ์แสดงชัดว่า อุปรากรยูนนานเป็นรูปแบบการแสดงออกทางศิลปะดั้งเดิมชิ้นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีประวัติศาสตร์การพัฒนาอันยาวนาน ในด้านการร้องและการแสดงของอุปรากรยูนนานยังคงดำเนินตามรูปแบบดั้งเดิม อุปรากรยูนนานมีกลิ่นอายพื้นถิ่นที่เข้มข้นและสไตล์ศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้เป็นตัวแทนชีวิตพื้นบ้านของท้องถิ่น ภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” ยึดผู้สืบสานอุปรากรยูนนานทั้งสามรุ่น (คนสูงอายุ คนวัยกลางคนและคนหนุ่มสาว) เป็นเป้าหมายหลัก เล่าบรรยายเรื่องราวของผู้สืบสานและอุปรากรยูนนานไปยังผู้ชมผ่านทางการดำเนินการถ่ายทำการแสดงอุปรากรยูนนานและผู้สืบสานใน 3 หัวข้อ คือ อุปสรรคความยากลำบาก การยืนหยัดอดทนและการสืบต่อ เพื่อมาแสดงสภาพปัจจุบันของอุปรากรยูนนาน ดึงดูดความสนใจที่มีต่ออุปรากรยูนนานดั้งเดิมของผู้คน งานวิจัยฉบับนี้ได้อธิบายและแนะนำถึงกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” หลัก ๆ ประกอบด้วยการเลือกหัวข้อ การวางแผนก่อนการถ่ายทำ การทำการถ่ายทำและกระบวนการหลังการถ่ายทำ ซึ่งสามารถทำให้ข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอุปรากรยูนนานดั้งเดิมสมบูรณ์ขึ้นได้โดยการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี ทำให้คนจำนวนมากขึ้นเข้าใจวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งนี่ก็จะทำให้คนรุ่นถัดไปนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรู้จักถึงคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงความได้เปรียบและความสำคัญของวัฒนธรรมยูนนาน อีกทั้งดำเนินการส่งเสริมผลักดันและรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป ในขณะเดียวกันก็พบข้อบกพร่องบางอย่างในขณะสร้างสรรค์ผลงานเช่นกัน ซึ่งก็สามารถทำให้เราได้ย้อนไตร่ตรองรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง มีบทบาทในการเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในวันข้างหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Xu Q. (1993). The cultural background and artistic characteristics of Yunnan Opera. Drama Art, (2):27-32.

Yang J, Liu J Y. (2011). Research on the development and protection of Yunnan Lantern and Yunnan Opera (2). Ethnic Art Research, (3):21-32.

Zhang Z Y. (2008). Talking about the development of local opera and the comparison of Yunnan opera. Ethnic Art Research, (5):51-54.

Zhao Z W. (2016). Research on “ Intangible Cultural Heritage

” TV Documentary in Yunnan. Art Review, (11):181-182.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.

Adopted at the 32nd conference held in Paris, France from 29th to October 17th.

Xu T. (2018). Research on the communication strategy of intangible cultural heritage documentaries. Liaocheng University.

Zhu J H. (2008). Documentary creation. Beijing: Renmin University of China Press,.

Cui Q Y. (2018). Creation skills and cultural inheritance of intangible cultural heritage documentaries. Chongqing Normal University.

Zhang A. (2018). "Intangible cultural heritage" documentaries in "intangible cultural heritage" protection. Hebei University.

Xu D H. (2015). On the Image Memory and Cultural Expression of Intangible Cultural Heritage Documentary Documentary——Taking the Graduation Design "The Last Perseverance" as an Example. Zhejiang University of Media and Communications.

Zhao T, Li A L. (2017). Video Art and Modern Inheritance of Intangible Cultural Heritage: Taking the Documentary "South of the Sea" as an Example. Young Reporter, (27):85-86.

Cao G. (2018). Mobile Internet Analysis of the creation and dissemination of intangible cultural heritage documentaries of the times: Taking the series of documentaries "Yibin Intangible Cultural Heritage" as an example. Today, Media.

Lin H C. (2018). Talking about how to shoot and protect "intangible cultural heritage" documentaries. Popular Literature and Art, 439(13):192-193.

Wang F. (2018). Research on the Story Expression of Intangible Cultural Heritage Documentaries. Henan University.

Lin D. Williams (LindaWilliams). (2000). Mirror without memory. Film Art, (2).

Xiao P. (2005). "The Voice of the Past": A Speaker's Perspective, Point of View and Image Writing. Modern Communication, (6).

Sheila C B. (2011). Documentaries also tell stories. Beijing: World Book Publishing Company Beijing Company, 4:3

Fu G C. (2013). Intangible Cultural Heritage Documentary Creation in the Meaning of Cultural Communication. News Knowledge, (7):70-71.

Zhu D L. (2009). "Six Hundred Years of Kunqu Opera". China TV, 2.15

Zhou J. (2012). Research on Intangible Heritage TV Feature Films - Taking "Kunqu Opera" as an Example. Tianjin Normal University.

Guyu Z Y. (2009). From "Six Hundred Years of Kunqu Opera" to see the composition of "multiple grammar" in cultural documentary creation. News and Communication.