เพลงย่ำค่ำสู่เพลงยิ้มแป้น: การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ

Main Article Content

สันติ อุดมศรี
จรัญ กาญจนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลงบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีของศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี อธิบายถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง แนวคิดของการปรับตัวของนักดนตรีอาชีพและลักษณะเฉพาะของบทเพลงที่สร้างขึ้นใหม่ที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ดำเนินงานวิจัยตามกรอบงานวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาดนตรี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญคณะรุ่งสุรินทร์บรรเลง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงบรรเลงตามประเพณีการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญที่นิยมกันในอดีตเริ่มถูกแทนที่ด้วยบทเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงแหล่ เและเพลงสมัยนิยมอย่างมีนัยสำคัญ บทเพลงดังกล่าวมิได้บรรเลงเช่นเดียวบทเพลงต้นฉบับ แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอใหม่ให้อยู่ในรูปแบบเฉพาะที่สามารถบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญได้ กระแสความนิยมจากผู้ฟังมีส่วนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการบรรเลงบทเพลงในวงปี่พาทย์มอญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2565). การปรับตัวของวงปี่พาทย์มอญในจังหวัดราชบุรีท่ามกลางบริบท

สังคมไทยร่วมสมัย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค สาขามนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์, 8(1), 1-18.

พิศาล บุญผูก. (2558). ปี่พาทย์มอญรำ. นนทบุรี : สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สันติ อุดมศรี. (2550). งานวิจัยการเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง ตามโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง เรื่องวงปี่พาทย์ในจังหวัดราชบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Wong, D. (1998). Mon Music for Thai Deaths: Ethnicity and status in Thai Uraban Funerals. Asian Folklore Studies, Vol. 57, No.1, 99-130.

บุคคลานุกรม

พระพร ภิรมย์, การสื่อสารส่วนบุคคล, 26 มกราคม 2548

ธีรวัฒน์ พรหมบุรี, การสื่อสารส่วนบุคคล, 4 พฤษภาคม 2565

ไชยยะ ทางมีศรี, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 มิถุนายน 2565

วิเชียร อ่อนละมูล, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 มิถุนายน 2565