LOOP: การสร้างสรรค์ละครแนวสืบสวนสอบสวนในรูปแบบอิมเมอซีฟ เธียเตอร์

Main Article Content

ชัญญาณินท์ ชัชวาลย์
พรทิพย์ วงษ์หาแก้ว
สัจจาวุธ สุริยะดง
ธนัชพร กิตติก้อง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการสะท้อนและถอดองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานละครในรูปแบบอิมเมอซีฟเรื่อง “LOOP: The Immersive Theatre” ที่มีประเด็นตั้งต้นกับการรับรู้ทางสังคมและการตัดสินคนจากภายนอก โดยอาศัยลักษณะและรูปแบบของละครแนวอิมเมอซีฟ ที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศ สถานที่เฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับเหตุการณ์รอบตัวในฐานะของเรื่องราวหรือการแสดง กระตุ้นให้ผู้ชมได้มีปฏิกิริยาทางอารมณ์และความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์นั้น ๆ ให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ตามสัญชาตญาณของตนเอง และเป็นผลงานที่เอื้อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมผ่านการค้นหาด้วยตนเองด้วย โดยเล่าเรื่องผ่านสถานการณ์การฆาตกรรมในบาร์ลับแห่งหนึ่งในรูปแบบสืบสวนสอบสวนคลาสสิก (Classical Detective Story) หรือ Whodunit มีเป้าหมายเพื่อที่จะศึกษาและถอดองค์ความรู้จากกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงทั้งด้านการจัดการและการอำนวยการผลิต (Production Management) การสร้างสรรค์บทและกำกับการแสดง (Directing) และการแสดง (Acting) ในละครแนวอิมเมอซีฟ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง. (2555). Immersive Theatre in Thailand. สืบค้นวันที่ 5 มีนาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/203076159740854/photos/a.328942443820891/428700880511713/?type=3

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2553). จิตวิทยาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงกมล ทองอยู่. (2559). การรับรู้ทางสังคมกับความเป็นจริงทางสังคม: ความต่างที่พึงระวัง. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 140.

ธนัชพร กิตติก้อง. (2563). การแสดง/PERFORMANCE: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์มานซ์.ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง

สุพรรณี วราทร. (2519). ประวัติการประพันธ์นวนิยายไทยตั้งแต่เริ่มจนถึง พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

อังคณา สุขวิเศษ. (2554). นวนิยายสืบสวน:อิทธิพลของชุดเชอร์ล็อคโฮล์มส์ที่มีต่อชุดปัวโรต์และนิทานทองอิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ภาควิชาวิชาวรรณคดีเปรียบเทียบคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adam Alston. (2016). Beyond Immersive Theatre: Aesthetics, Politics and Productive Participation. London: Palgrave Macmillan

Bangkok 1889. (2561). Unless: An immersive theatre experience. สืบค้นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://bangkok1899.org/projects/curated-programs/unless-a-theatre-piece

FULLFAT Theatre. (2563). SAVE FOR LATER (สูจิบัตร). 18 กรกฎาคม 2563,Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

FULLFAT Theatre. (2564). Siam Supernatural Tour 2021. สืบค้นวันที่ 31 มีนาคม 2564,

จาก https://www.facebook.com/fullfattheatre/posts/1774065646100975

Gareth White. (2012). On Immersive Theatre. Theatre Research International, 37(3), 221-235.

Robin Schrorter, (2019). Directing an Immersive Theatre Show in Bangkok.สืบค้นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://actors-thailand.com/2019/02/14/directing-an-immersive-theatre/