ความงดงามของความเครียด: เส้น สี ความรู้สึก จากอัตราการเต้นของชีพจรสู่ความงามบนผืนผ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมนุษย์ได้พบเจอกับเรื่องราวและปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องราวที่ดีน่าจดจำหรืออาจเป็นเรื่องราวที่ร้ายแรงและน่าหดหู่ เรื่องราวเหล่านั้นสามารถสร้างสภาวะทางอารมณ์แก่มนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในสังคมปัจจุบันมนุษย์ต้องเผชิญต่ออุปสรรค ปัญหา การดิ้นรน และเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิต ทำให้เกิดสภาวะทางอารมณ์และการสะสมก่อให้เกิดภาวะความเครียดขึ้น ซึ่งปัจจุบันประชาชนมีภาวะของความเครียดและซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลระยะยาวที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 20 ของประชากรโลกกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและป่วยซ้ำสูงถึงร้อยละ 50-70 และด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัยเล็งเห็นถึงสภาวะดังกล่าวจึงนำความเครียดของตนมาวิเคราะห์และแปรเปลี่ยนความเครียดที่มีนำมาสร้างสรรค์ลวดลายบนสิ่งทอเพื่อให้เห็นความงามในรูปแบบของความเครียดของผู้วิจัย โดยการเก็บข้อมูลจากอัตราการเต้นของชีพจรตนเองด้วยนาฬิกา Smart Watch จำนวน 9 เดือน ในช่วงเวลาตั้งแต่ 08.30-20.30 น. ของแต่ละวัน จากการเก็บข้อมูลพบว่าอัตราการเต้นของชีพจรสามารถนำมาพัฒนาลวดลายบนสิ่งทอเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะได้ ผลที่ได้จากความเครียดคือ การสร้างลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้สี แดง เหลือง ส้ม และสีเทา แทนความรู้สึกของอารมณ์จากการเต้นของชีพจร และทำให้พบว่า ความเครียด สี และเส้น สามารถถ่ายทอดเป็นผลงานทางศิลปะสู่บนผืนผ้าได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กฤติยา แก้วมณี และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2020). แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาความเครียดด้านการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 15(1), OJED1501004-12.
จรัสพิมพ์ วังเย็น. (2013). สุนทรียศาสตร์ (aesthetics) มุมมองความคิดนักออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation), 1(1), 66-72.
วันทนา เนาว์วัน และอารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ. (2020). การจัดการความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงาน. Journal of Management Science Review, 22(1), 223-232.
สายอักษร รักคง. (2020). การเยียวยาสภาวะทางจิตด้วยศิลปะบำบัด. วารสารศิลป์พีระศรี, 7(2), 65-84.
สุนันทา ผาสมวงค์. (2019). สภาวะของความทุกข์ (ศิลปะ บำบัด). มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 42-57.
อนุชา ถาพยอม. (2020). ผลกระทบของความสามารถในการจัดการความเครียดและทักษะการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี. Executive Journal, 40(1), 31-43.
Buajun, A., Chotchai, T., Phadungphol, S., Taearak, K., and Songsri, C. (2020). ความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษาสาธารณสุข. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 7(2).
Do, Q. D., and Tasanapradit, P. (2008). Depression and Stress among the First Year Students in University of Medicine and Pharmacy, Hochiminh city, Vietnam. ความซึมเศร้าและความเครียดในนักศึกษาปีที่หนึ่งในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโฮจิมินท์ ประเทศเวียตนาม. Journal of Health Research, 22(Suppl.), 1-4.