“ลำปางยังหวานอยู่” : ผลงานสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรม สารคดีเชิงวัฒนธรรมเพื่อสร้างสำนึกรักท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลงานสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรมสารคดีเชิงวัฒนธรรมเรื่อง “ลำปางยังหวานอยู่” มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมืองลำปาง และผสมผสานความคิดเห็นของผู้เขียนตลอดจนความเพลินเพลิดไปกับเนื้อหาที่อ่านง่ายและภาพลายเส้นที่ให้ความรู้สึกแห่งสุนทรียะทางวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้มีจำนวน 168 หน้าเป็นการรวมความเรียงเชิงสารคดีจำนวน 25 เรื่องที่มีเนื้อหามุ่งเน้นสู่การสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของท้องถิ่นให้แก่คนลำปางทั้งที่อยู่ในจังหวัดและคนลำปางที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นได้เกิดความรักและความภาคภูมิใจในบ้านเกิดของตน ผลงานสร้างสรรค์เรื่องนี้มีคุณค่าและประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะการพัฒนาพลเมืองเข้มแข็งบนฐานความรู้ มีจิตสาธารณะ และความรักในมาตุภูมิเพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ธเนศวร์ เจริญเมือง.(2551). พลเมืองเข้มแข็ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิภาษา.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2538) มาจากล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ธีรภาพ โลหิตกุล. (2552). กว่าจะเป็นสารคดี. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อ่านเอาเรื่อง.
ธีรศักดิ์ วงศ์คำแน่น. (2558). ร้อยเรื่องเมืองลำปาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธินิยม ปัทมเสวี.
นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. (2546). คำบอกเล่าของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สายธาร.
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (2553). ลำปางยังหวานอยู่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตะวันออก.
ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น. (2559). ลำปางยังหวานอยู่. พิมพ์ครั้งที่ 2. ลำปาง. : สำนักงานจังหวัดลำปาง.
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2561). น้ำวัง รถไฟ ไฮเวย์ : ประวัติศาสตร์ลำปางสมัยใหม่. ลำปาง : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
สกาวรัตน์ บุญวรรโณ, เก็ตถวา บุญปราการ และวันชัย ธรรมสัจการ. (2561). การโหยหาอดีตกับการกลายเป็นสินค้าในมิติการท่องเที่ยวของสังคมไทย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13, 19 (กันยายน-ธันวาคม),หน้า 1-14.