การศึกษาอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบตราสินค้า : กรณีศึกษากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านธารปราสาทใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านธารปราสาทใต้ และออกแบบตราสินค้าให้มีความเหมาะสมกับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านบ้านธารปราสาทใต้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านฯ ผู้นำชุมชน นักพัฒนาชุมชนประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) กลุ่มสมาชิกผู้เข้าร่วมปฏิบัติออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์หัตถกรรม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของตราสินค้าที่มีความเหมาะสมกับสินค้ากลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน บ้านธารปราสาทใต้ โดยตั้งชื่อสินค้า “ถักทอเส้นใย” เป็นชื่อที่อธิบายถึงคุณลักษณะกระบวนการผลิตและวัสดุที่ใช้ในการผลิต ตราสินค้าอยู่ในประเภท Combination Mark คือ การวางตัวอักษรชื่อ ถักทอเส้นใย วางคู่กับภาพของหม้อปากแตร ด้วยกระบวนการสานเส้นใยพืช ตรงกลางหม้อปากแตรเป็นลายสานที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้โทนสีน้ำตาลสะท้อนภาพลักษณ์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ตราสินค้ามีลักษณะเฉพาะตัว(Uniqueness) มีเอกลักษณ์เฉพาะ กะทัดรัด สั้น จดจำง่าย และบ่งบอกถึงคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ได้ดี ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบตราสินค้า พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.46 ค่า S.D 0.50
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพ : Within Book.
ยุรฉัตร บุญสนิท. (2546). ลักษณะความสัมพันธ์ของวรรณกรรมกับสังคมในพัฒนาการวรรณคดี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : คอร์ฟังค์ชั่น.
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2541). การออกแบบตราสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชานฤมิตศิลป์
Berryman, Gregg. (1984). Note on Graphic Design and Visual Communication. Los Altos, Calif. : William Kaufmann, Inc.
Hornby, A. S. (2001). Oxford Advanced Learner’s Dictionary (6th ed.). Oxford : Oxford University Press.