ตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นชลบุรีในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของปิยะพร ศักดิ์เกษม

Main Article Content

อภิรักษ์ ชัยปัญหา

บทคัดย่อ

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของไทยมักนำเสนอฉากและบรรยากาศของเรื่องตามกรอบโครงประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนักเขียนจะสอดแทรกแนวคิดเรื่องความรักชาติแล้วก็มักจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมของเมืองหลวงอันเป็นศูนย์กลางของชาติเท่านั้น ปิยะพร ศักดิ์เกษม เป็นนักเขียนที่เกิดและเติบโตมาในจังหวัดชลบุรี ได้สร้างสรรค์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ “ชุดแม่วัน” ขึ้น โดยใช้ฉากจังหวัดชลบุรีที่มีพัฒนาการอย่างยาวนานถึง 100 ปี มาเป็นฉากของนวนิยายชุดนี้ สำหรับบทความนี้มุ่งศึกษาว่าปิยะพร ศักดิ์เกษม ได้นำเสนอตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นใดบ้างในนวนิยายของเธอเพื่อสร้างความรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของจังหวัดชลบุรีให้แก่ทั้งผู้อ่านจากส่วนกลางและผู้อ่านที่อยู่ในพื้นที่ชลบุรี ผลการศึกษาพบว่า ในด้านตำนาน พบ 4 ตำนาน ได้แก่ ตำนานเมืองศรีพโล ตำนานพระรถ เมรี ตำนานเขาสามมุข ตำนานอ่างศิลา ในด้านประเพณีพบ 3 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีงานกองข้าว ประเพณีวิ่งควาย และประเพณีทิ้งกระจาด ในด้านวัฒนธรรมพบวัฒนธรรม 2 ด้าน ได้แก่ วัฒนธรรมการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมด้านอาหารประจำถิ่น นับว่านวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ปิยะพร ศักดิ์เกษม ได้ช่วยบันทึกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นชลบุรีไว้อีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วรรณกรรมพื้นบ้าน: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์

และภูมิปัญญา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ : กรมศิลปากร.

โครงการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม (๒๕๖๔). วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา. เข้าถึงได้จาก http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/folk-literature.

โครงการฐานข้อมูลงานประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2560). นิยามประเภทประเพณี. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/rituals/definition.php.

ชุตินันท์ มาลาธรรม. (2557). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในนวนิยายเรื่อง ในวารวัน ของ ปิยะพร ศักดิ์เกษม. สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2555). ในวารวัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง.

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2550). ตะวันเบิกฟ้า. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง.

ปิยะพร ศักดิ์เกษม. (2555). ขอบฟ้าราตรี. กรุงเทพฯ : อรุณอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซชิ่ง

พนิดา วงศ์บุญ. (2554). ศึกษานวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องบุหงาปารี ของ วินทร์ เลียววาริณ. สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2.(2504). พระนคร: คุรุสภา.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

พิศมร แสงสัตยา. (2554). การวิเคราะห์นวนิยายของ ปิยะพร ศักดิ์เกษม. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภารดี มหาขันธ์. (2552). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชลบุรี. ชลบุรี. สาขาวิชาไทย ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มนัสนันท์ สรรพัชญา. (2550). การศึกษากลวิธีการแต่งนวนิยายย้อนยุคอิงประวัติศาสตร์เรื่องจันทราอุษาคเนย์ ของวรรณวรรธน์. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย) ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพ ฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลัดดา ราตรีพฤกษ์. (2541). วิเคราะห์แนวคิด กลวิธีนำเสนอแนวคิด และศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมของปิยะพร ศักดิ์เกษม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วันชนะ ทองคำเภา. (2554). ภาพตัวแทนของสมเด็จพะมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิรักษ์ ชัยปัญหา. (2546). วิเคราะห์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิราวดี ไตลังคะ. (2546). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, (2559). ประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย. เข้าถึงได้จากhttps://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=46

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). ความหมาย แนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. เข้าถึงได้จาก http://www.openbase.in.th/node/5954.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี. (2559). ประเพณีกองข้าวบวงสรวง (ประเพณีกองข้าว). เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/chonburi/ewt_news.php?nid=677&filename=index

เสฐียรโกเศศ. (2505). การศึกษาเรื่องประเพณีไทย. พระนคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

อรัญญา แสนสระและนันท์ชญา มหาขันธ์. (2561). นิทานพื้นบ้านกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 53-66.