การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39

Main Article Content

คฑาวุธ ขันไชย

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานกิจกรรมแนะแนว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 จำนวน 114 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 51 ข้อ ผลการหาค่า IOC พบว่า มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
    ในแต่ละด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้
    1) กิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา
    2) กิจกรรมแนะแนวด้านอาชีพ และ
    3) กิจกรรมแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม

  2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษากับครูที่ปฏิบัติงานกิจกรรมแนะแนว มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่า สถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีสภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

  3. แนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา ดังนี้
    1) กิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา ควรเพิ่มบุคลากรงานกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา และสถานศึกษาควรมีการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บริการการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านการศึกษา
    2) กิจกรรมแนะแนวด้านอาชีพ ควรเพิ่มบุคลากรงานกิจกรรมแนะแนวด้านอาชีพ และสถานศึกษาควรมีการประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา และอุปสรรคการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านอาชีพ และ
    3) กิจกรรมแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม ควรมีครูที่สำเร็จการศึกษาทางด้านจิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา และสถานศึกษาควรมีการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บริการการจัดกิจกรรมแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ เที่ยงธรรม. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชวกร จันทร์ทอง. (2555). สภาพการบริหารกิจกรรมแนะแนวตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

นงลักษณ์ ประเสริฐและคณะ. (2553). ชุดฝึกอบรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิฐาพรรณ ช่างนาวา. (2558). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารงานแนะแนวของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสุโขทัย (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พักรบ อำนวยผล. (2552). การบริหารงานแนะแนวในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครเชียงราย (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมพร วงศ์วิธูน. (2555). การบริหารงานแนะแนวโดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). พะเยา: วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2555). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม(IOC). เข้าถึงจาก

https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). ระบบการแนะแนวในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.