ลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาจะทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนและตรงตามลักษณะลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน จะทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลีลาการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชา
พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา
และวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามลีลาการเรียนรู้ของนักกีฬาจำแนกในรูปแบบ VARK มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .85 ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬามีลีลาการเรียนรู้แบบปฏิบัติหรือเคลื่อนไหวมากที่สุด รองลงมาคือลีลาการเรียนรู้แบบอ่านและเขียน ลีลาการเรียนรู้โสตประสาทตามลำดับ และ
ไม่ปรากฏลีลาการเรียนรู้แบบจักษุประสาท จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ผลการเรียนเฉลี่ยและลีลาการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
จิราพร รัตนคำ และ วินัย รัตนคำ. (2557). การศึกษาแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 6(3), 33-44.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ลีลาการเรียนรู้-ลีลาการสอน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 33(1), 68-94.
บุญเตือน วัฒนกุล, ศรีสุดา งามขำ และกัลยา งามวงษ์วาน. (2559). ความแตกต่างของรูปแบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 54-61.
พูลสุข เจนพานิชย์วิสุทธิพันธ์ และ พรศรี ดิสรเตติวัตน์. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 70-82.
ภาวนา กีรติยุตวงศ์, สุวรรณี มหากายนันท์, นารีรัตน์ บุญเนตร และ วชรีกร อังคประสาทชัย. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(3), 382-394.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิรารักษ์ ศรีมาลา และ รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์. (2558). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนการพยาบาลทารกแรกเกิดแบบ VARK Learning Style. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(4), 751-759.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alkhasawneh, I.M., Mrayyan, M.T., Docherty, C., Alashram, S. and Yousef, H.Y. (2008). Problem-based learning (PBL): Assessing students’ learning preferences using VARK. Nurse Education Today, 28(5), 572-579. doi:10.1016/j.nedt.2007.09.012.
Baykan, Z. and Naçar, M. (2007). Learning styles of first-year medical students attending Erciyes University in Kayseri, Turkey. Advance in Physiology Education, 31(2), 158-160. doi:10.1152/advan.00043.2006.
Braakhuis, A. (2015). Learning styles of elite and sub-elite athletes. Journal of Human Sport and Exercise, 10(4), 927-935. doi:10.14198/jhse.2015.104.08.
Fleming, N.D. and Mills, C. (1992). Not another inventory, rather a catalyst for reflection. To Improve the Academy, 11, 137-155. doi:10.1002/j.2334-4822.1992.tb00213.x.
Fleming, N.D. (2013). The VARK Questionnaire – for Athletes, Retrieved from
http://vark-learn.com/the-vark-questionnaire/the-vark-questionnaire-for-athletes/.
Mills, D.W. (2002). Applying what we know student learning styles. Retrieved from http://www.adesignmedia.com/onlineresearch/Applying%20What%20We%20Know%20-%20Student%20Learning%20Styles.htm.
Peyman, H., Sadeghifar, J., Khajavikhan, J., Yasemi, M., Rasool, M., Yaghoubi, Y. M., Karim, H. (2014). Using VARK approach for assessing preferred learning styles of first year medical sciences students: a survey from Iran.
Journal of Clinical and Diagnostic Research, 8(8), GC01–GC04. doi:10.7860/JCDR/2014/8089.4667.
Sarabi-Asiabar, A., Jafari, M., Sadeghifar, J., Tofighi, S., Zaboli, R., Peyman, H., Shams, L. (2015). The relationship between learning style preferences and gender, educational major and status in first year medical students: a survey study from Iran. Iranian Red Crescent Medical Journal, 17(1), e18250. doi:10.5812/ircmj.18250.